Page 23 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 23

จารึกสมัยทวารวดี
                       จารึกสมัยทวารวดีส่วนใหญ่เป็นจารึกอักษรปัลลวะ (อักษรของ

              อินเดียภาคใต้) และอักษรหลังปัลลวะ (พัฒนามาจากอักษรปัลลวะ) มีภาษา
              ที่มาจากประเทศอินเดียคือ ภาษาบาลี ซึ่งใช้จารึกหลักธรรมพุทธศาสนา
              นิกายหีนยานหรือเถรวาท และมีจารึกภาษาสันสกฤตอยู่บ้างโดยใช้กับเรื่อง
              ที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์หรือศาสนาพราหมณ์ แต่ยังไม่พบจารึกที่สัมพันธ์กับ
                                     41
              พุทธศาสนานิกายมหายานเลย
                       จารึกสมัยทวารวดีปรากฏทั้งบนเหรียญเงิน พระพุทธรูป
              พระพิมพ์ (ภาพที่ 5) ธรรมจักร สถูปจ าลอง แผ่นอิฐ แท่งหิน ผนังถ ้า ฯลฯ
              ส่วนมากพบในเขตภาคกลาง ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี ลพบุรี
              ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์
              และนครจ าปาศรี จังหวัดมหาสารคาม
























                ภาพที่ 5 จารึกคาถาเย ธมฺมาฯ ภาษาบาลี ด้านหลังพระพิมพ์ดินเผาศิลปะทวารวดี
                       พบที่เมืองอู่ทอง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง




                                          12
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28