Page 19 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 19

การตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มแม่น ้าท าให้พื้นดินมีความอุดม
              สมบูรณ์เหมาะสมต่อการท าเกษตรกรรมโดยเฉพาะการท านา แต่ตัวเมือง
              โบราณเหล่านี้ก็มักไม่อยู่ติดกับล าน ้าสายใหญ่ เพราะอาจเกิดน ้าท่วมได้

              ดังนั้นเมืองจึงตั้งอยู่ติดกับล าน ้าสายรองที่เชื่อมต่อไปยังล าน ้าสายใหญ่เพื่อ
              เอื้อประโยชน์ต่อการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ อย่างสะดวก และล าน ้าหลักนั้น
              ยังสามารถเชื่อมต่อไปออกยังทะเลได้ ด้วยเคยมีข้อสันนิษฐานว่าแนวชายฝั่ง
              ทะเลในช่วงสมัยทวารวดีนั้นคงอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินปัจจุบัน
                       ตัวอย่างการศึกษาแนวชายฝั่งทะเลโบราณ เช่นงานของ ทิวา

              ศุภจรรยา และผ่องศรี วนาสิน ซึ่งได้ท าการค้นคว้าโดยอาศัยการแปลความ
              ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ท าให้ได้ข้อสันนิษฐานว่าที่ตั้ง
              ของเมืองโบราณสมัยทวารวดีหลายเมืองมีความสัมพันธ์กับแนวชายฝั่งทะเล
              เดิมที่ระดับ 3.5–4 เมตรจากระดับน ้าทะเลปานกลาง ลักษณะของอ่าวไทย
              ในอดีตคงเป็นอ่าวลึกเข้าไป พื้นที่ชายฝั่งในสมัยทวารวดีส่วนใหญ่คงเป็น
                                                                31
              ที่ลุ่มต ่าใกล้ระดับน ้าทะเลและบางบริเวณก็มีลักษณะเป็นหาดทราย
                       เมื่อไม่นานมานี้มีผลการศึกษาด้านเรณูวิทยาของชั้นตะกอน
              โดยตรงใจ หุตางกูร เพื่อตรวจสอบแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดีนี้
              ซึ่งน าเสนอว่าแนวชายฝั่งทะเลในสมัยทวารวดีไม่ได้เว้าลึกเข้าไปในแผ่นดิน
              ปัจจุบันแบบที่เคยเชื่อกันมา แต่ในระยะเวลานั้นแนวชายฝั่งทะเลได้เคลื่อน

              ตัวลงมาอยู่ในพื้นที่ระหว่างกรุงเทพมหานครกับสมุทรปราการ ซึ่งไม่ต่างจาก
              สภาพในปัจจุบัน ดังนั้นจึงเกิดพื้นที่ราบอันกว้างใหญ่ระหว่างที่ตั้งเมืองของ
              ทวารวดีกับแนวผืนป่าชายเลน พื้นที่ราบดังกล่าวนี้มีสภาพนิเวศแบบที่ราบ
              น ้าท่วมตามฤดูกาล  เหตุนี้เมืองโบราณสมัยทวารวดีจึงไม่ได้มีลักษณะเป็น
              เมืองท่าชายฝั่งทะเล แต่การติดต่อจะต้องล่องเรือจากปากอ่าวเข้าไปตาม
                                                 32
              ล าน ้าคล้ายกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยหลังนั่นเอง  (แผนที่ที่ 2)








                                           8
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24