Page 15 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 15

จนกระทั่งใน พ.ศ. 2507 นักวิชาการจึงสามารถยืนยันได้ถึง
              การมีอยู่ของบ้านเมืองทวารวดีในดินแดนไทย เพราะมีการตีพิมพ์บทความ
              เกี่ยวกับค าอ่านและค าแปลจารึกภาษาสันสกฤตบนเหรียญเงิน 2  เหรียญ
                                                      18
              พบที่แหล่งโบราณคดีเนินหินภายในเมืองนครปฐม   โดย ยอร์ช เซเดส์
              เป็นผู้อ่านจารึกนี้ได้ ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” แปลว่า “บุญกุศล
                                       19
              ของพระราชาแห่งศรีทวารวดี”  หรือ “การท าบุญของเจ้าแห่งทวารวดี
                       20
              ผู้รุ่งเรือง”  ที่ส าคัญคือ ก าหนดอายุจากแบบอักษรปัลลวะของจารึกบน
                                                     21
              เหรียญเงินนี้ก็อยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12  คือตรงกับห้วงเวลาที่
              พระถังซัมจั๋งบันทึกถึงโตโลโปตี
                       เหรียญเงินมีจารึกข้างต้นนี้พบใน พ.ศ. 2486 และอยู่ในความ
              ครอบครองของนายเฉลิม ยงบุญเกิด ต่อมานายเฉลิมได้น ามาให้กับทาง
              สยามสมาคม (Siam  Society)  เป็นผู้ศึกษาเหรียญเงินดังกล่าวบรรจุอยู่ใน
              ภาชนะดินเผาร่วมกับเหรียญตราแบบอื่นๆ เช่นเหรียญเงินรูปสังข์ แต่เหรียญ

              เงินที่มีจารึกมีเพียง 2 เหรียญ อีกด้านของเหรียญหนึ่งเป็นรูปสัตว์ที่น่าจะ
              เป็นแม่วัว-ลูกวัว อีกเหรียญหนึ่งเป็นรูปหม้อน ้าปูรณฆฏะ (หม้อน ้าแห่ง
                                                                      22
              ความอุดมสมบูรณ์) ทั้ง 2 เหรียญ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร
                       ข้อมูลจากการแปลจารึกบนเหรียญเงินศรีทวารวดีฯ ข้างต้น
              เคยน าไปสู่การตั้งข้อสันนิษฐานที่ว่า นครปฐมเคยเป็นเมืองหลวงกษัตริย์
                        23
              แห่งทวารวดี  แต่ต่อมาก็ได้มีการค้นพบเหรียญเงินมีจารึกลักษณะเดียวกัน
                                                                       24
              ตามเมืองโบราณร่วมสมัยอีกหลายแห่ง ได้แก่ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
                                                                26
                                           25
              (ภาพที่ 1) บ้านคูเมือง จังหวัดสิงห์บุรี  เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี  (ภาพที่
                                                   27
              2) เมืองดงคอนและเมืองอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท  ทั้งยังได้พบหลักฐานทาง
              โบราณคดีและงานศิลปกรรมเป็นจ านวนมากในประเทศไทยที่น่าจะมีอายุอยู่
              ในสมัยทวารวดี ซึ่งท าให้เราทราบถึงลักษณะทางวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้
                         28
              มากพอสมควร





                                           4
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20