Page 12 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 12

บทที่ 1
                                       “ทวารวดี”

                            ต้นธารประวัติศาสตร์บนดินแดนไทย

                       ในบทนี้เป็นการเกริ่นน าเรื่องของ “โบราณคดีสมัยทวารวดี”
              เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจก่อนจะกล่าวถึงแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหรือการค้า

              ขายแลกเปลี่ยนในสมัยทวารวดี ค าว่า “สมัยทวารวดี” (Dvaravati period) นี้
              เป็นค าที่นักวิชาการก าหนดขึ้นเพื่อเรียกยุคสมัยแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์
              โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะของประเทศไทย มีอายุอยู่ในช่วงราว
              พุทธศตวรรษที่ 12–16 (คือตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1100–1600) หรือ 1,450–
                        1
              950 ปีมาแล้ว


              ที่มาและความหมายของค าว่า “ทวารวดี”
                       การค้นคว้าเกี่ยวกับบ้านเมืองหรือรัฐทวารวดีนั้นเริ่มต้นขึ้น
              เมื่อ พ.ศ. 2427  (หรือ 150  ปีที่แล้ว) ภายหลังจากการตีพิมพ์ผลงานของ

              แซมมวล บีล (Samuel  Beal)  นักวิชาการด้านตะวันออกศึกษาชาวอังกฤษ
              ซึ่งได้แปลบันทึกของภิกษุจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ พระเสวียนจั้ง (Xuan
              Zang) หรือพระถังซัมจั๋ง ที่เดินทางจาริกไปตามเส้นทางสายแพรไหมทางบก
              (silk  road)  ผ่านดินแดนเอเชียกลางต่อไปยังอินเดียในช่วง พ.ศ. 1170–
                  2
              1188  (ครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 12) โดยขณะที่ท่านเดินทางมายังแคว้น
              สมตฏ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศบังคลาเทศ) ก็ได้กล่าวถึงบ้านเมืองที่ชื่อ
                                3
              “โตโลโปตี” (To-lo-po-ti)  ดังข้อความว่า









                                           1
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17