Page 16 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 16
นอกจากชื่อของทวารวดีในบันทึกของพระถังซัมจั๋งและพระอี้จิง
แล้ว ในเอกสารโบราณของจีนประเภทสารานุกรมและพงศาวดารก็มี
การกล่าวถึงบ้านเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 ที่ชื่อ “โถวเหอ” หรือ
29
“โถวเหอหลัว” ซึ่งนักวิชาการหลายท่านมีความเห็นว่าคือ “ทวารวดี”
เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวนี้ยังมีรายละเอียดหลายประการที่พระถังซัมจั๋งและ
พระอี้จิงไม่ได้กล่าวถึง อาทิเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพสังคม ลักษณะทาง
วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจการค้า ดังจะกล่าวถึงในบทที่ 4
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของทวารวดีกลับไม่
เป็นที่รู้จักกันมากนัก ดังที่ ช็อง บวสเซอลิเย่ร์ (Jean Boisselier) นักวิชาการ
ด้านประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศส เคยกล่าวไว้ว่า “แม้สถานที่ตั้งของ
ราชธานีของอาณาจักรทวารวดีออกจะดูค่อนข้างแน่นอนก็จริง
แต่ขนาดของอาณาจักรรวมทั้งประวัติศาสตร์ก็ดูจะไม่ค่อยแน่นอน
30
นัก” เพราะจารึกสมัยทวารวดีส่วนใหญ่คือหลักธรรมหรือเล่าถึงการท าบุญ
ทางพุทธศาสนาที่ไม่ได้ให้รายละเอียดทางประวัติศาสตร์มากนัก
ภาพที่ 1 เหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวำรวตีศฺวรปุณฺย”
พบจากการขุดแต่งที่คอกช้างดิน เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
5