Page 22 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 22
สถานที่ที่พบเหรียญเงินมีจารึกศรีทวารวดีฯ มาเป็นเครื่องบ่งชี้ขอบเขตของ
34
รัฐทวารวดีได้ เพราะหากใช้เกณฑ์ดังกล่าวแล้ว รัฐทวารวดีคงมีขอบเขตอยู่
ในบริเวณลุ่มแม่น ้าท่าจีน-แม่กลอง อันมีเมืองส าคัญและมีขนาดใหญ่ที่ถือเป็น
แกนกลางของวัฒนธรรม ได้แก่ อู่ทอง คูบัว นครปฐม และพื้นที่บางส่วนของ
ลุ่มน ้าเจ้าพระยา เช่น อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี และอู่ตะเภา จังหวัดชัยนาท
ส่วนเมืองลพบุรีหรือละโว้ซึ่งเคยมีนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า
35
เป็นเมืองหลวงของทวารวดี ก็คงมีชื่อเฉพาะของรัฐหรือเมืองของตนว่า
“ลวปุระ” เพราะได้พบเหรียญเงินมีจารึกอักษรปัลลวะระบุชื่อดังกล่าวที่
36
เมืองอู่ทอง ต านานชินกาลมาลีปกรณ์ก็กล่าวถึงการเชิญพระนางจามเทวี
(หรือจัมมเทวี) จาก “เมืองลวปุระ” ให้ขึ้นไปครองเมืองหริปุญชัย (ล าพูน)
37
เมื่อ พ.ศ. 1206 ซึ่งต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เมืองลพบุรีก็ยังใช้ชื่อ
38
คล้ายเดิมว่า “โลฺว” ดังปรากฏในจารึกศาลเจ้า ภาษาเขมร หลักที่ 21 ดังนั้น
ลวปุระหรือละโว้จึงมีชื่อและบทบาทของตนเองโดยเฉพาะในสมัยทวารวดี
นอกจากนี้ยังได้พบค าว่า “ทวารวดี” ในข้อความว่า “พระเทวี
(มเหสี) ของเจ้ำแห่งทวำรวดีทรงบัญชำให้พระธิดำสร้ำงพระรูปของ
พระตถำคตนี้ไว้” ปรากฏอยู่ในจารึกที่ฐานพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีจากวัด
จันทึก อ าเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษา
39
สันสกฤต ก าหนดอายุจากแบบอักษรได้ราวพุทธศตวรรษที่ 12 แต่เราก็ไม่
อาจน าจารึกหลักนี้มาใช้แปลความได้ว่า บริเวณอ าเภอปากช่องจะนับเนื่อง
อยู่ในขอบเขตการปกครองของรัฐทวารวดี เพราะยังไม่พบเหรียญเงินมีจารึก
ศรีทวารวดีฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทว่าจารึกหลักนี้ก็แสดงให้เห็นถึง
การแพร่หลายของวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาจากทวารวดีในภาคกลางฝั่ง
ตะวันตกไปยังภูมิภาคอีสานใต้ และนักวิชาการบางท่านเคยตั้งข้อสันนิษฐาน
ด้วยว่า อาจมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกันระหว่างกษัตริย์หรือชนชั้นสูง
ของทวารวดีกับผู้ปกครองในพื้นที่ใกล้เคียงกับที่พบจารึกวัดจันทึก เช่นเมือง
40
โบราณเสมา อ าเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาก็เป็นได้
11