Page 24 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 24

เนื้อหาที่ปรากฏในจารึกสมัยทวารวดีโดยมากคือ หลักธรรมทาง
              พุทธศาสนา โดยเฉพาะ “คาถา เย ธมฺมา” ซึ่งคาถานี้นิยมอยู่ในประเทศ

              อินเดียสมัยหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-12) โดยเชื่อว่าเป็นแก่น
              พุทธธรรม นิยมจารลงบนวัสดุต่างๆ แล้วบรรจุไว้ในพระพุทธรูป สถูป
                                                    42
              เพราะส าคัญเทียบเท่าพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า
                       ส่วนข้อความอื่นๆ ที่พบในจารึกสมัยทวารวดี ได้แก่ ข้อความใน
              พระไตรปิฎกภาษาบาลี เรื่องอริยสัจ 4  ปฏิจจสมุปฺบาท เรื่องความหลุดพ้น

              พุทธอุทาน ข้อความสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระนามอนาคตพุทธเจ้า
              นามพระอรหันต์ พุทธบิดา  (พระเจ้าสุทโธทนะ) และข้อความเกี่ยวกับการ
              ท าบุญ ซึ่งภาษาที่ใช้ในจารึกอันเกี่ยวข้องกับการท าบุญ หรือการอุทิศสิ่งของ
              ต่างๆ ทางพุทธศาสนานั้นมักเป็นภาษามอญโบราณ (ภาพที่ 6)

























                           ภาพที่ 6 จารึกวัดโพธิ์ร้าง เมืองนครปฐมโบราณ
                         อักษรปัลลวะ ภาษามอญโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 12
                          จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์



                                          13
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29