Page 25 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 25

จากการค้นพบจารึกภาษามอญโบราณ (เป็นภาษาพื้นเมือง)
              หลายหลักตามชุมชนและบ้านเมืองโบราณสมัยทวารวดี ทั้งในภาคกลางและ
              ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท าให้นักวิชาการในอดีตเสนอว่า ผู้คนพื้นเมือง
                                         43
              ทวารวดีส่วนใหญ่คงเป็นชาวมอญ  หรืออย่างน้อยบริเวณที่ราบลุ่มแม่น ้า
                                                         44
              เจ้าพระยาช่วงสมัยทวารวดีคงมีชาวมอญอาศัยอยู่แล้ว  และกลุ่มชนที่ใช้
              ภาษามอญโบราณก็คงเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                 45
              ด้วย


              “ทวารวดี” กับ “รามัณยะ” และการล่มสลาย ?
                       มีข้อสังเกตว่าในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 15  ดินแดน
              แถบทวารวดีแต่เดิมนี้อาจได้รับการขนานนามว่า “รามัณยะ” เพราะจารึก
              ปราสาทบึงเวียนในประเทศกัมพูชา (พ.ศ. 1489)  ระบุว่า พระเจ้าราเชนทร

              วรมัน (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1487–1511)  ทรงมีชัยชนะในการท า
              สงครามเหนือจัมปา (ในเวียดนามปัจจุบัน) และ “รามัณยะ” เปรียบดั่ง
                                                      46
              พระรามที่ทรงแผลงศรไปทางเบื้องขวาและเบื้องซ้าย
                       ดูเหมือนว่า ไฮแรม วูดวาร์ด (Hiram  Woodward)  จะเป็น
              นักวิชาการเพียงไม่กี่ท่านที่ให้ความส าคัญกับข้อความในจารึกปราสาท

              บึงเวียน ซึ่งที่นี่เป็นพุทธสถานแห่งแรกในศิลปะขอมที่สร้างขึ้น
              เพื่อประดิษฐานพระรัตนตรัยมหายาน คือ พระพุทธรูป พระโพธิสัตว์อวโล
              กิเตศวร และนางปรัชญาปารมิตา โดยพระพุทธรูปที่พบ ณ ปราสาทบึงเวียน
              นั้นเป็นพระพุทธรูปประทับยืน สูง 46 เซนติเมตร ซึ่งวูดวาร์ด  กล่าวว่ามี
                                                                      47
              พุทธลักษณะบางประการคล้ายกับพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดีตอนปลาย
                       ไฮแรม วูดวาร์ด ยังพบว่าบริเวณชายแดนภาคตะวันออกของ

              ประเทศไทยยังปรากฏจารึกของพระเจ้าราเชนทรวรมันอย่างน้อย 2  หลัก
                                 49
                   48
              (K.957   และ  K.999 ) ทั้งยังได้พบทับหลังศิลปะขอมที่ก าหนดอายุอยู่
              ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 15 มาจากอ าเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว




                                          14
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30