Page 26 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 26
(จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี) ท าให้วูดวาร์ด
สันนิษฐานว่าบางทีหลักฐานจารึกและศิลปกรรมเหล่านี้อาจแสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์กับข้อความในจารึกปราสาทบึงเวียนที่กล่าวถึงการมีชัยชนะ
50
เหนือรามัณยะของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ซึ่งในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
ของเขาที่เผยแพร่มาก่อนใน พ.ศ. 2518 เรื่อง “การศึกษางานศิลปกรรมใน
ภาคกลางของสยาม ระหว่าง พ.ศ. 1493–1893” เคยกล่าวไว้ด้วยว่า
51
เหตุการณ์นี้อาจน ามาสู่การล่มสลายของทวารวดี ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
ในบทที่ 6
สถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี
หลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวารวดีที่ส าคัญประเภทหนึ่งคือ
สถาปัตยกรรม ซึ่งเราสามารถแบ่งงานสถาปัตยกรรมทวารวดีออกได้เป็น
3 กลุ่มหลัก คือ
1. ศาสนสถานกลางแจ้ง ได้แก่ เจดีย์ วิหารหรือโบสถ์ มณฑป
และเทวาลัย
2. ถ ้าศาสนสถาน
3. สิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภค (เกี่ยวข้องกับการจัดการน ้า)
วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างหลักคือ อิฐ อิฐสมัยทวารวดีมีขนาดใหญ่
52
มักมีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง โดยทั่วไปแล้วมักผสม
53
แกลบข้าว การเผาท าได้ไม่ดีนัก ผิวชั้นนอกเท่านั้นที่สุกเป็นสีแดงหรือ
เหลืองปนแดง แต่เนื้อในยังเป็นสีด าและเป็นถ่านอยู่ การเรียงอิฐใช้ดินสอ
ซึ่งเป็นดินเหนียวผสมน ้าอ้อย ชั้นของสอดินนี้บางมาก การเรียงอิฐท าอย่าง
เป็นระเบียบเฉพาะด้านนอก ภายในกลับท าอย่างง่ายๆ คือใช้อิฐที่เผาไม่ดี
หรือน าอิฐจากที่อื่นมาใช้และวางไม่เป็นระเบียบ จากคุณภาพของอิฐและ
เทคนิคในการก่อสร้างดังกล่าวมา ท าให้ศาสนสถานอยู่ในสภาพทรุดโทรม
ปรักหักพังเหลือเพียงส่วนฐาน
15