Page 79 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 79

ความมุ่งหวังของฟูนันในการส่งคณะทูตไปจีนคงหนีไม่พ้น
              เหตุผลทางธุรกิจ เพราะในสมัยราชวงศ์เหลียงพุทธศาสนาก าลังเจริญรุ่งเรือง
              วัดวาอารามต่างๆ ย่อมต้องการเครื่องหอมหรือก ายานไปใช้ประกอบกิจพิธี
                   37
              ต่างๆ  ซึ่งอาณาจักรฟูนันคงเป็นศูนย์กลางในการค้าขายอยู่ในขณะนั้น
              เห็นได้จากบันทึกของราชทูตคังไถและจูยิงที่กล่าวว่าฟูนันเก็บภาษีเป็น
                      38
              เครื่องหอม
                       สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ ขณะนั้นพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองอยู่
              ในฟูนัน ราชทูตจีนได้เข้ามายังฟูนันระหว่าง พ.ศ. 1078–1088 เพื่อขอให้
              พระราชารวบรวมคัมภีร์พุทธศาสนาประทานให้ พร้อมทั้งส่งพระภิกษุไปจีน
              จน พ.ศ. 1089 พระเจ้ารุทรวรมันจึงได้ทรงส่งพระปรมารถหรือคุณรัตนะ
              ชาวเมืองอุชเชนีในอินเดียซึ่งขณะนั้นพ านักอยู่ในฟูนัน เดินทางไปจีนโดยขึ้น

              ฝั่งที่เมืองกว่างโจว (กวางตุ้ง) และเดินทางไปเมืองนานกิง พร้อมทั้งน าพระ
              คัมภีร์ไป 240 ผูกด้วย และท่านคุณรัตนะก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก
                                      39
              จักรพรรดิอู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียง
                       ส่วนความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างฟูนันกับอินเดียก็มีข้อมูล

              อยู่ในจดหมายเหตุจีนช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ซึ่งกล่าวว่า พระเจ้าฟันจันได้
              ส่งพระญาติองค์หนึ่งไปยังอินเดีย คณะทูตฟูนันแล่นเรือขึ้นไปตามแม่น ้า
              คงคาจนถึงราชธานีของราชวงศ์มุรุณฑะ พระราชามุรุณฑะได้ต้อนรับคณะ
              ทูตอย่างดีและมอบม้าพันธุ์อินเดียซิเถียน 4 ตัวมาถวายพระราชาฟูนัน
                                                          40
              พร้อมทั้งส่งชาวอินเดียให้ร่วมเดินทางกลับมายังฟูนันด้วย
                       นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าอาณาจักรฟูนันมีอาณาบริเวณอยู่ใน

              แถบตอนใต้ของกัมพูชาและเวียดนาม หรือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปาก
              แม่น ้าโขง ซึ่งมีชัยภูมิอันเหมาะสมในน่านน ้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              ข้อมูลที่น่าสนใจคือ มีการค้นพบพระพุทธรูปไม้จากแหล่งโบราณคดีหลาย
              แห่งทางตอนใต้ของเวียดนาม พระพุทธรูปกลุ่มนี้สลักขึ้นตามรูปแบบของ
              ศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ ก าหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-




                                          68
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84