Page 77 - ทวารวดี ประตูสู่การค้าบนเส้นทางสายไหมทางทะเล
P. 77
ยอร์ช เซเดส์ ให้ข้อมูลว่า เรื่องเล่าของคังไถและจูยิงเกี่ยวกับ
ฟูนันข้างต้นนี้ ดัดแปลงมาจากเรื่องราวของอินเดียซึ่งปรากฏอยู่ในศิลา
จารึกภาษาสันสกฤตของจามปา ซึ่งคล้ายกับนิยายปฐมวงศ์ของกษัตริย์
ราชวงศ์ปัลลวะ ที่ปกครองอินเดียภาคใต้ และเรื่องเล่าปฐมวงศ์ของกษัตริย์
30
ฟูนันน่าจะเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 6–7 ส่วนง่อก๊กของพระเจ้า
ซุนกวนนี้ปกครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ในลุ่มแม่น ้าแยงซีเกียง
จึงไม่สามารถเดินทางไปติดต่อค้าขายกับประเทศทางตะวันตกตามเส้นทาง
สายไหมทางบกได้ การค้าขายในทะเลจีนใต้จึงเป็นทางออกที่ดีของง่อก๊ก
31
และนี่คือเหตุผลส าคัญที่จีนส่งทูตมายังดินแดนทะเลใต้ ราชทูตคังไถและ
จูยิงยังได้พรรณนาเกี่ยวกับอาณาจักรฟูนันไว้อีกว่า
“มีเมืองซึ่งมีก าแพงเมืองล้อมรอบ
มีพระราชวังและบ้านประชาชน ประชาชนมีหน้าตา
น่าเกลียด ผิวด า ผมหยิก ไม่สวมเสื้อผ้าและเดินเท้า
เปล่า มีอัธยาศัยใจคอง่ายๆ และไม่ชอบลักขโมย
ท าการเพาะปลูกโดยหว่านพืชปี หนึ่งและเกี่ยว
พืชผลไป 3 ปี ชอบสลักเครื่องประดับและท าการ
แกะสลัก ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหารมักท า
ด้วยเงิน ภาษีที่เก็บเป็นทอง เงิน ไข่มุก และ
เครื่องหอม มีหนังสือ หอจดหมายเหตุ และอื่นๆ
ตัวอักษรที่ใช้คล้ายกับตัวอักษรของชนชาติฮู
(ประชาชนในภาคกลางของเอเชียที่ใช้ตัวอักษรตาม
32
แบบอินเดีย)”
66