Page 11 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 11
1.1 ความเป็นมาและกระบวนการพัฒนา
สถานการณ์สุขภาพคนไทย จากรายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของ
ประชากรไทย (Burden of Disease) โดยแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพ
เพื่อการพัฒนานโยบาย ส�านักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ รายงาน
สุขภาพคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และสถิติ
สุขภาพที่เกี่ยวข้อง ท�าให้เห็นแนวโน้มโรคของคนไทยและสถิติภาระโรคที่เกี่ยวข้อง
โดยพบว่าปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กและเยาวชนคือ ความเครียด พฤติกรรม
การกินอยู่ที่ไม่มีสุขภาพ การเสพติดสารเสพติด หรือสื่อออนไลน์ (ส�านักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563) รวมถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
ด้วย โดยเฉพาะพฤติกรรมการสูบบุหรี่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา พบวัยรุ่น
ไทยอายุต�่ากว่า 19 ปี เสพติดบุหรี่ 375,900 คน สูบเป็นครั้งคราว 78,000 คน อายุ
ที่เริ่มทดลองคือ 13-14 ปี อายุเฉลี่ยที่เสพติดบุหรี่ของคนไทยคือ 18 ปี ในแต่ละปี
มีเยาวชนไทยเสพติดบุหรี่ใหม่ และกลายเป็นผู้ที่ต้องสูบบุหรี่เป็นประจ�า 200,000 -
300,000 คน ทดแทนผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ที่เสียชีวิตหรือเลิกสูบ ท�าให้จ�านวนผู้สูบบุหรี่
ไทยคงที่อยู่ที่ 11 ล้านคน (ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2563)
ปัจจุบัน เด็กไทยอายุต�่ากว่า 18 ปี เสพติดบุหรี่เกือบ 500,000 คน เยาวชนไทย
ที่เสพติดบุหรี่แล้ว โดยเฉลี่ยจะเสพติดบุหรี่ต่อไปอีกเป็นเวลา 23 ปี จึงจะสามารถ
เลิกสูบได้ โดยสาเหตุที่เลิกเพราะเริ่มป่วยแล้วโดยส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่กว่าร้อยละ 70
ของผู้ใหญ่ที่เสพติดบุหรี่ต้องการที่จะเลิกสูบ แต่เลิกไม่ส�าเร็จ เพราะอ�านาจเสพติดที่
สูงมาก ๆ ของบุหรี่ โดยเฉลี่ยเยาวชนไทยสูบบุหรี่วันละ 8.3 มวน หากคิดเป็นตัวเงิน
จะตกวันละประมาณยี่สิบบาท ผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ขณะนี้ ร้อยละ 64.7 ติดก่อนอายุ 20 ปี
และร้อยละ 27.7 ติดระหว่าง 20-24 ปี รวมแล้วร้อยละ 95.5 ของผู้เสพติดบุหรี่
ติดก่อนอายุ 24 ปี ฉะนั้นหากป้องกันเยาวชนไม่ให้เสพติดบุหรี่ได้จนถึงอายุ 25 ปี
โอกาสที่เขาจะกลายเป็นผู้สูบบุหรี่จะมีน้อยมาก บุหรี่เป็นยาเสพติดตัวแรกที่เยาวชนติด
และเป็นสื่อน�าไปสู่สิ่งเสพติดอื่นที่ร้ายแรงกว่า จากงานวิจัยในหลายๆ ประเทศ
รวมทั้งประเทศไทยพบว่า ผู้ที่ติดสิ่งเสพติดอื่น ๆ เช่น เหล้า เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา หรือ
โคเคน เป็นต้น ล้วนแต่เริ่มจากการติดบุหรี่ก่อนทั้งสิ้น โดยวัยรุ่นที่ติดเหล้า ร้อยละ 62
10 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research