Page 227 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 227
ผลการประเมินความส�าเร็จของการเลิกบุหรี่ที่ระยะ 3 เดือน และ 6 เดือน ในช่วง
3 เดือน ร้อยละ 100.0 หยุดแล้วแต่ยังอยากสูบเมื่อเห็นคนอื่นสูบ ในช่วง 6 เดือน
ร้อยละ 81.8 เลิกบุหรี่ส�าเร็จแล้ว ร้อยละ 4.5 ลดการสูบลง และร้อยละ 13.6
ยังไม่เลิกสูบ พยายามต่อไป (สอดคล้องกับสมมติฐานที่ 5) ผลสุขภาพกายโดยรวม
พบว่า ก่อนการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการเด็กและเยาวชนมีค่าเฉลี่ยสุขภาพกาย
โดยรวม 2.83 หลังการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการ เด็กและเยาวชนมีค่าเฉลี่ยสุขภาพ
กายโดยรวม 2.90 (สอดคล้องกับสมมติฐานที่ 6) ผลสุขภาพจิตโดยรวม พบว่า
ก่อนการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการเด็กและเยาวชนมีค่าเฉลี่ยสุขภาพจิตโดยรวม 2.82
หลังการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการเด็กและเยาวชนมีค่าเฉลี่ยสุขภาพจิตโดยรวม 2.88
(สอดคล้องกับสมมติฐานที่ 7)
สรุปผลการวิจัย พบว่า การใช้แผนปฏิบัติการ 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม
Good Food Good Health กิจกรรม Fit for health กิจกรรม อารมณ์ดี และ
กิจกรรม ยาสูบอย่าสูบ ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาวะส�าหรับเด็กและเยาวชนในศูนย์
ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี สอดคล้องกับแผนการส่งเสริมสุขภาพ
ของเพนเดอร์ (Pender, 1987) ได้ก�าหนดแบบแผนการสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบ
ไปด้วยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ 6 ด้าน คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ
ด้านการออกก�าลังกาย ด้านโภชนาการ ด้านการเจริญทางจิตวิญญาณ ด้านการ
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการจัดการกับความเครียด การจัดสิ่งแวดล้อม
ปลอดบุหรี่ของศูนย์ฝึกฯ บ้านปรานี ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของเด็กและ
เยาวชนหญิงบ้านปรานี สอดคล้องกับงานวิจัยของ (ศิรภัสสร กุลศรี) ปัจจัยที่มีผลต่อ
การเลิกสูบบุหรี่ของผู้ที่เข้ารับบริการในคลินิกอดบุหรี่ ของโรงพยาบาลพระนารายณ์
มหาราชจังหวัดลพบุรี
ข้อเสนอแนะ
ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ควรมีการใช้แผน
ปฏิบัติการ 4 กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่แผนปฏิบัติการดังกล่าวให้
ศูนย์ฝึกฯ ทั่วประเทศน�าไปปรับใช้เพื่อพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนภายใน
สถานควบคุมต่อไป
226 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research