Page 411 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 411
ประวัติประสบการณ์เคยเลิกบุหรี่ มากที่สุด คือเลิกสูบเพราะถูกจับเข้า
ศูนย์ฝึกฯ คิดเป็นร้อยละ 24 รองลงมาคือ การลดจ�านวนการสูบลง คิดเป็นร้อยละ 20
และมีความต้องการในการเลิกบุหรี่มากที่สุด คือ ต้องการเลิก คิดเป็นร้อยละ 64
รองลงมาคือ ไม่ต้องการเลิก คิดเป็นร้อยละ 24 และไม่ระบุ คิดเป็นร้อยละ 12
ตามล�าดับ
ประวัติการสูบบุหรี่ของสมาชิกในครอบครัว มี สมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่
เช่น พ่อ พี่ชาย ลุง ตา ปู อา แม่ สามี น้องชาย เพื่อน เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 68 และ
ไม่มีสมาชิกในครอบครัวสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 32 ส�าหรับสาเหตุที่เลิกบุหรี่ในครั้งนี้
อันดับหนึ่งคือ ด้านครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมาคือ ด้านสุขภาพ และ
ด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 12
สาเหตุที่สูบบุหรี่ มากที่สุดคือ ตามเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 76 รองลงมา คือ
อยากลอง คิดเป็นร้อยละ 64 และเครียด คิดเป็นร้อยละ 60 ส�าหรับอาการถอน
นิโคตินระหว่างที่ก�าลังเลิกสูบบุหรี่ อาการที่เป็นมากที่สุด คือ อยากกลับไปสูบอีก
คิดเป็นร้อยละ 28 รองลงมาคือ อื่นๆหลายๆ อาการร่วมกัน คิดเป็นร้อยละ 24 และ
กระวนกระวาย คิดเป็นร้อยละ 16 โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการดูแลตนเองระหว่าง
เลิกบุหรี่ถึง ร้อยละ 56 รองลงมา คือ ทราบ คิดเป็นร้อยละ 32 และ ไม่ระบุ คิดเป็น
ร้อยละ 12
วิธีการดูแลตนเองที่เลือกใช้มากที่สุด คือ การออกก�าลังกายที่ชอบ คิดเป็น
ร้อยละ 52 รองลงมาคือ การดื่มน�้า คิดเป็นร้อยละ 48 และ การหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้คน
สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 40 โดยมีการดูแลจากพยาบาลและทีมสหวิชาชีพในศูนย์ฝึก
และอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านมุทิตา ถึงร้อยละ 76 ไม่ทราบ คิดเป็นร้อยละ 16
และไม่ระบุคิดเป็นร้อยละ 8 ตามล�าดับ ซึ่งวิธีการดูแลช่วยเหลือที่ได้รับ มากที่สุด
คือ การพูดให้ก�าลังใจ คิดเป็นร้อยละ 48 รองลงมา คือ วิธีการเอาชนะการถอน
นิโคตินและสื่อสารเชิงบวกเติมพลังบวกให้รู้สึกมั่นใจว่าท�าได้ คิดเป็นร้อยละ 28
และ ไว้วางใจและเชื่อมั่นว่าเยาวชนจะเลิกได้ คิดเป็นร้อยละ 20 ตามล�าดับ
410 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research