Page 413 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 413
จากตารางที่ 17 พบว่าการติดตามการลดละเลิกบุหรี่ที่ระยะ 3 พบเด็กและ
เยาวชนลด ละ เลิกบุหรี่ได้ ร้อยละ 44 และการติดตามที่ระยะ 6 เดือน พบว่าเด็ก
และเยาวชนลด ละเลิกบุหรี่ได้คิดเป็นร้อยละ 48 เหตุผลที่ท�าให้เด็กแบะเยาวชน
ยังลด ละ เลิกบุหรี่ไม่ได้เป็นเพราะตัวเองยังมีความรู้สึกกลัวไม่มั่นใจว่าตนเองจะเลิกได้
และยังอยู่ใกล้สิ่งแวดล้อมหรือมีเพื่อนที่สูบรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เข้าถึงบุหรี่ได้
บุหรี่ง่ายต่อการสูบ ยังมีความคิดว่าเมื่อสูบบุหรี่จะช่วยในการคลายความเครียดและ
มีอาการถอนนิโคตินกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย จนท�าให้ไม่สามารถเลิกได้
ซึ่งจ�าเป็นต้องมีการช่วยเหลือเพิ่มเติม จึงจะช่วยให้เด็กและเยาวชนเกิดความมั่นใจ
ในตนเองที่จะลดละเลิกบุหรี่ได้ส�าเร็จ แม้ว่าจะมีการจัดสิ่งแวดล้อมในศูนย์ฝึกฯ
ให้ปลอดบุหรี่ แต่ยังมีบางสถานการณ์ที่เด็กและเยาวชนยังพบเห็นบรรยากาศหรือ
แบบอย่างสิ่งเร้าที่เอื้อต่อการอยากเสพบุหรี่ซ�้าก็ส่งผลให้เด็กและเยาวชนเกิด
การเลิกบุหรี่ไม่ส�าเร็จ เช่น เจ้าหน้าที่สูบบุหรี่ใกล้พื้นที่สถานควบคุม มีเศษก้นกรอง
มวนบุหรี่ทิ้งในบริเวณพื้นที่ศูนย์ฝึกฯ ซึ่งเป็นปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้เด็กและเยาวชน
เลิกบุหรี่ไม่ส�าเร็จได้
ตารางที่ 18 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต�่าสุด-ค่าสูงสุด จ�านวน
ของมาตรการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ ระหว่างก่อนและหลังการร่วมกิจกรรม
ปฏิบัติการด้านการจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน
มุทิตา (N = 25 คน)
ก่อนท�ากิจกรรม (N = 25) หลังท�ากิจกรรม ( N = 25)
ข้อ ข้อความ
Mean ± SD. Min-Max Mean ± SD. Min-Max
1. ฉันทราบว่าพื้นที่ในศูนย์ฝึกและ 4.2±1.323 1-5 4.88±0.332 4-5
อบรมฯเป็นเขตห้ามสูบบุหรี่
2. ฉันช่วยติดสติกเกอร์เขตปลอด 2.96±1.744 1-5 4.36±0.952 1-5
บุหรี่ในศูนย์ฝึกและอบรมฯ
3. ฉันคอยดูแลไม่ให้มีคนสูบบุหรี่ 2.28±1.4 1-5 4±1.5 1-5
ในพื้นที่ศูนย์ฝึกและอบรมฯ
4. เมื่อพบเห็นคนสูบบุหรี่ในเขต 2.56±1.685 1-5 4.24±1.128 1-5
ห้ามสูบ ฉันบอก/ห้ามปรามให้
เค้าหยุดสูบ
412 พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research