Page 62 - พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ : พัฒนาสุขภาวะเด็กไทย ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
P. 62

1.3 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ


                    การพัฒนาสุขภาวะเด็กและเยาวชนผ่านกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบ

            มีส่วนร่วมในศูนย์ฝึกและเยาวชนสังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
            น�าร่อง 5 แห่ง คือ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนสิรินธร ศูนย์ฝึกและอบรมเด็ก
            และเยาวชนชายบ้านอุเบกขา ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายบ้านมุทิตา
            ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชายจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ฝึกและ
            อบรมเด็กและเยาวชนหญิงบ้านปรานี ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
                    ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนพบว่า ส่วนใหญ่เยาวชนในศูนย์ฝึก

            และอบรมเด็กและเยาวชนเป็นเพศชาย ร้อยละ 88.2 พื้นฐานการศึกษาระดับปฐมศึกษา
            มากที่สุดร้อยละ 50.5 รองลงมาคือมัธยมตอนต้น ร้อยละ 34.9 และมีภูมิล�าเนาอยู่
            ในภาคกลางมากที่สุด ร้อยละ 51.1 รองลงมาคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออก
            เฉียงเหนือ ร้อยละ 31.0 และ 12.5 ตามล�าดับ (ตารางที่ 1) ส่วนใหญ่เยาวชนมีน�้า
            หนักตัว ส่วนสูง และดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีสัญญาณชีพทั้งอุณหภูมิ
            กาย และชีพจรปกติ ตามล�าดับ (ตารางที่ 2) เยาวชนส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายปกติ
            ร้อยละ 69.6 ที่เหลือมีน�้าหนักเกิน ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไปจนถึงอ้วนมาก หรือน�้าหนัก

            ต�่ากว่าเกณฑ์ จนถึงเริ่มมีภาวะขาดอาหาร แต่ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจ�าตัวร้อยละ
            94.1 มีเพียงร้อยละ 5.9 ที่มีประวัติหอบหืดหรือภูมิแพ้ และเยาวชนจ�านวนหนึ่ง เคย
            มีอุบัติเหตุ ประสบปัญหาจากความรุนแรง หรือการผ่าตัดอวัยวะบางส่วนของ
            ร่างกาย หรือแขนขา เนื่องจากการบาดเจ็บ ร้อยละ 23.7 ตามล�าดับ (ตารางที่ 3)
                    2. พฤติกรรมด้านโภชนาการ พบว่า ก่อนท�ากิจกรรมปฏิบัติการเยาวชน

            มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่รับประทานทั่วไปรับประทานอาหารถุงๆ จากร้าน
            ข้าวแกงเป็นอันดับ 1 (3.26±1.07) รองลงมาคือ อาหารปิ้งย่าง (3.17±1.07)
            ส่วนอาหารที่รับประทานน้อยที่สุดคือ ขนมกรุบกรอบซอง ๆ (2.16±1.09) แกงกะทิ
            ทุกชนิด (2.18±1.02) อาหารส�าเร็จรูปและอาหารแช่แข็ง (2.18±1.02) และ
            เครื่องดื่มเข้าน�้าตาล (2.18±1.17) ระยะหลังท�ากิจกรรมปฏิบัติการ เยาวชน
            มีพฤติกรรมการบริโภคไม่เปลี่ยนไป ดังจะเห็นได้จากการจัดล�าดับประเภทพฤติกรรม
            การบริโภคที่บ่อยที่สุดคือ อาหารถุงๆจากร้านข้าวแกง (3.87±1.00) รองลงมาคือ



                            พินิจด้วยรัก พิทักษ์ด้วยใจ:พัฒนาสุขภาวะเด็กไทยด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ   61
             Consider with Love, Protect with Heart: Health Development among Youth via Participation Action Research
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67