Page 58 - แนวทางการจัดทำผลงานวิชาการเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการในสาขาพยาบาลศาสตร์
P. 58
ด�าเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย และอภิปรายผลการวิจัย รวมทั้งมีการแนบเอกสารขอจริยธรรมทางการวิจัยใน
มนุษย์ด้วย กรณีที่เป็นวิจัยเชิงส�ารวจ อาจน�าผลการวิจัยไปจัดท�าเป็นข้อเสนอแนวคิดในการพัฒนางานด้วย
การน�าเสนอผลงานวิจัยที่ขอประเมิน กรณีขอประเมินในต�าแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับช�านาญการ
ส่งเฉพาะบทความวิจัย ไม่ต้องส่งรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กรณีขอประเมินในต�าแหน่งพยาบาลวิชาชีพ
ระดับช�านาญการพิเศษ ต้องมีการน�าเสนอทั้งบทความวิจัยและรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
3.2.2 ประเภทงานวิเคราะห์วิจารณ์
หมายถึง ผลงานทางวิชาการ ซึ่งมีการก�าหนดประเด็นที่ต้องศึกษา พัฒนา หรือวิเคราะห์อย่างชัดเจน
การวิเคราะห์ต้องเป็นประเด็นปัญหาที่สนใจเชิงลึกหรือวิเคราะห์ผลจากการปฏิบัติงานการพยาบาลที่ผ่านมา
ที่ตรงกับภารกิจตามต�าแหน่ง หน้าที่ในความรับผิดชอบ การวิเคราะห์ต้องมีหลักวิชาการ ทั้งที่เป็นงานวิจัยหรือ
ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่น่าเชื่อถือ โดยผลงานต้องแสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องหรือ
ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ เชื่อมโยงแต่ละองค์ประกอบหรือวิธีการต่าง ๆ
เข้าด้วยกันท�าให้เกิดข้อสรุป เป็นแนวทาง ต้นแบบ หรือเทคนิควิธีการใหม่ ในการแก้ปัญหา หรือน�ามาใช้เป็น
ประโยชน์ต่องานการปฏิบัติการพยาบาล งานบริการพยาบาล หรืองานบริหารการพยาบาล หรือเป็นประโยชน์
ต่อหน่วยงานหรือวิชาชีพ
ประเภทงานวิเคราะห์วิจารณ์เพื่อประเมินผลงานของพยาบาลวิชาชีพระดับช�านาญการ/
ช�านาญการพิเศษ หมายความรวมถึง
1. การพัฒนานวัตกรรมสื่อ/สิ่งประดิษฐ์
2. การก�าหนดแนวปฏิบัติทางคลินิกทางการพยาบาล
3. การทบทวนกระบวนการท�างานแบบ systematic review
4. การพัฒนาคู่มือ
การเลือกงานที่จะวิเคราะห์
เลือกงานบริการพยาบาลที่มีปัญหา หรืองานบริการพยาบาลที่ไม่ส�าเร็จตามตัวชี้วัด หรืองานที่จะ
พัฒนามาก�าหนดเป็นเรื่องที่จะด�าเนินการ
แนวทางการจัดท�าผลงานวิชาการเพื่อแต่งตั้งให้ด�ารงต�าแหน่งประเภทวิชาการ ในสาขาพยาบาลศาสตร์
49
ส�าหรับพยาบาลวิชาชีพ ระดับช�านาญการ/ ช�านาญการพิเศษ ส�านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข