Page 51 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 51

กลุ่มผู้ประสบภัยที่บาดเจ็บเล็กน้อย ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้  ให้การปฐมพยาบาลแล้ว
               กลับบ้านได้ หรือเคลื่อนย้ายไปสถานพยาบาลเป็นล าดับที่สาม

                      กลุ่มผู้ประสบภัยที่ตายคาที่ หรือคาดว่าจะเสียชีวิต ไม่ต้องเคลื่อนย้าย หลังจากประเมินผู้ประสบภัย
               ตามหลักการ  CAB แล้ว ต้องประเมินผู้ประสบภัยตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าด้วยความรวดเร็วอีกครั้งหนึ่ง เพื่อ
               พิจารณาอาการบาดเจ็บและเลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมและปลอดภัย เช่น

                      ถ้าผู้ประสบภัยเคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้  แสดงว่าอาจมีกระดูกคอหัก ต้องระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย
               เป็นพิเศษ  โดยต้องให้ศีรษะ ล าคอและล าตัวอยู่ในท่าตรงเสมอ  การให้ผู้ประสบภัยนอนบนแผ่นกระดาน  รัด
               ตรึงล าตัว  และใช้หมอนทรายตรึงให้คอและหน้าอยู่กับที่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเคลื่อนย้าย แต่ถ้าไม่มีแผ่น
               กระดาน จะต้องใช้ผู้ช่วยเหลือที่มีขนาดตัวเท่า ๆ กันอย่างน้อย 6-8 คนในการอุ้มยกให้ผู้ประสบภัยอยู่ในท่าตรง

                      ถ้าผู้ประสบภัยมีอาการชาไม่มีความรู้สึก แสดงว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกคอและไขสันหลัง ต้องใช้
               วิธีการเคลื่อนย้ายโดยใช้แผ่นกระดาน หรือใช้ผู้ช่วยเหลืออย่างน้อย 6-8 คน อุ้มยกให้ผู้ประสบภัยอยู่ในท่าตรง
               เช่นเดียวกัน
                      ถ้าผู้ประสบภัยมีกระดูกหัก  เมื่อให้เคลื่อนไหวจะเจ็บปวดมาก  และมีการเคลื่อนไหวผิดธรรมชาติ

               ต้องเข้าเฝือกชั่วคราวให้  อย่าดึงหรือดันกระดูกที่โผล่ให้เข้าที่ แล้วจึงท าการเคลื่อนย้าย
                      ถ้าผู้ประสบภัยมีบาดแผลเปิด ควรปิดด้วยผ้าสะอาด และห้ามเลือดก่อน  หากมีวัตถุปักคาอวัยวะ ห้าม
               ดึงวัตถุที่ปักคานั้นออก หากมีล าไส้ทะลักให้คลุมปิดด้วยผ้าสะอาด ไม่ต้องดันล าไส้ให้เข้าที่ ก่อนท าการ
               เคลื่อนย้าย

                      4)เมื่อขาดอุปกรณ์ในการช่วยเหลือ ควรประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้จากสถานที่เกิดสาธารณภัย
               อย่างปลอดภัย คุ้มค่า และมีไหวพริบ
                      5) ประมาณก าลังที่จะยกผู้ป่วย ถ้าไม่แน่ใจว่าจะยกไหว ต้องหาผู้ช่วยเหลือให้มากพอ ห้ามทดลองยก

               เด็ดขาด เพราะผู้ประสบภัยอาจได้รับอันตรายได้
                      6) เมื่อมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จะต้องมีคนใดคนหนึ่งเป็นคนออกค าสั่ง และต้องบอกแผนการ
                      เคลื่อนย้ายกับผู้ช่วยเหลือคนอื่นๆ เช่น จะเคลื่อนย้ายด้วยวิธีใด ไปยังปลายทางที่ใด เป็นต้น รวมทั้ง
                      ต้องบอกกับผู้ประสบภัยด้วยว่าจะท าอะไรให้ เพื่อผู้ประสบภัยจะได้ให้ความร่วมมือได้ถูกต้อง
                      7) ในการยกผู้ประสบภัย ผู้ช่วยเหลือควรระมัดระวังไม่ให้หลังของตนเองงอ เพราะอาจท าให้หมอนรอง

               กระดูกสันหลังเคลื่อนได้ ต้องให้หลังของตนอยู่ในแนวตรงอยู่เสมอ เวลายกผู้ประสบภัยให้ย่อขา และหนีบแขน
               ก ามือที่จับผู้ประสบภัยให้แน่น ให้มือและแขนอยู่แนบล าตัวให้มากที่สุด จะท าให้มีแรงมาก
                        8) ขณะเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ควรปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล ระมัดระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บมาก

               ยิ่งขึ้น การใช้ท่าต่าง ๆในการเคลื่อนย้าย ควรค านึงถึงลักษณะอาการของผู้ประสบภัยด้วย หลีกเลี่ยงการยกที่จะ
               ท าให้แตะต้องอวัยวะที่บาดเจ็บ และระมัดระวังไม่ให้มีการสั่นสะเทือน หรือเกิดการโค้งงอของอวัยวะที่บาดเจ็บ
                      9) ให้ความอบอุ่นโดยใช้ผ้าห่มหรือผ้า ปกคลุมตัวผู้ประสบภัย
                      10) พูดคุย ให้ก าลังใจ และปลอบโยนผู้ประสบภัยที่ตระหนกตกใจ ตามความเหมาะสมเพื่อทราบ
               ข้อมูลเพิ่มเติมบางประการที่ส าคัญเกี่ยวกับภัย สาเหตุและอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น

                      11) ประเมินสภาพผู้ประสบภัยเป็นระยะๆ โดยสังเกตอาการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นหรืออาการเปลี่ยนแปลง
               ที่เลวลง ในขณะที่เคลื่อนย้าย เพื่อให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที







                                                                                                       51
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56