Page 53 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 53
1.3 การอุ้ม (Arm Carry)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่ขนาดตัวเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือ ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถลุกเดินได้ เช่น
เป็นลม บาดเจ็บที่ข้อเท้า หรือฝ่าเท้า และต้องเคลื่อนย้ายในระยะทางใกล้ๆ
วิธีการปฏิบัติ
1. ผู้ช่วยเหลือย่อเข่าลงในท่าที่ถนัด (ถ้าผู้ประสบภัยอยู่ในท่านอน
หรือนั่งกับพื้น ผู้ช่วยเหลือต้องนั่งคุกเข่า)
2. ผู้ช่วยเหลือสอดแขนข้างหนึ่ง ช้อนใต้เข่าทั้งสองข้างของ
ผู้ประสบภัย
3. สอดแขนอีกข้างหนึ่ง ช้อนใต้รักแร้หรือบริเวณอกของ
ผู้ประสบภัย ให้ไหล่ของผู้ประสบภัยเกยเหนือไหล่และเกาะไหล่ของ
ผู้ช่วยเหลือไว้ จากนั้นผู้ช่วยเหลือลุกขึ้นยืนแล้วก้าวเดิน
1.4 การอุ้มกอดและทาบด้านหลัง (Back-Strap Carry)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถลุกเดินได้ และต้องเคลื่อนย้ายผ่านทาง
ที่แคบ ในระยะทางไกล
วิธีการปฏิบัติ
1. ให้ผู้ประสบภัยนอนหงายแยกขาออกจากกัน ผูกข้อมือของผู้ประสบภัยไว้ด้วยกัน
2. นอนหงายทาบไปบนตัวของผู้ประสบภัย ให้ขาของผู้ช่วยเหลืออยู่ในหว่างขาของผู้ประสบภัย
3. สอดแขนซ้ายและศีรษะเข้าไปในวงแขนข้างขวาของผู้ประสบภัย
4. ผู้ช่วยเหลือใช้มือข้างซ้ายจับต้นแขนขวาของผู้ประสบภัย และใช้มือขวาสอดเข้าใต้ข้อพับขาของ
ผู้ประสบภัย ตั้งขาของผู้ประสบภัยขึ้นและตรึงไว้กับที่ใต้เข่า
5. พลิกคว่ าตัวลงไปทางซ้ายให้มากที่สุด จนผู้ประสบภัยทับอยู่ด้านบนของผู้ช่วยเหลือ
6. ค่อย ๆ ลุกขึ้นในท่าคุกเข่าก้มโค้ง มือซ้ายของผู้ประสบภัยจะลอดใต้รักแร้ข้างซ้าย ขณะที่มือพาดผ่านไหล่
ขวาของผู้ช่วยเหลือ
7. ลุกขึ้นยืน จับข้อมือของผู้ประสบภัยไว้ ขยับท่าให้ถนัด แล้วก้าวเดินไปสู่ที่หมาย
53