Page 57 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 57
วิธีการปฏิบัติ
1. ให้ผู้ประสบภัยอยู่ในท่านอนคว่ า ผู้ช่วยเหลือนั่งคุกเข่าลงเหนือศีรษะสอดแขนทั้งสองข้างเข้าใต้ ไหล่ของ
ผู้ประสบภัย
2. ผู้ช่วยเหลือค่อยๆ ลุกขึ้นยืนพร้อมกับลากตัวผู้ประสบภัยตามขึ้นมา สอดขาข้างขวาเข้าไปในหว่างขา ของ
ผู้ประสบภัย
3. มือขวาโอบหลัง และมือซ้ายจับข้อมือข้างขวาของผู้ประสบภัยแล้วตวัดผ่านศีรษะพาดไปที่ไหล่ข้างขวาของผู้
ช่วยเหลือและกุมเอาไว้ไม่ต้องปล่อยมือออก
4. ย่อเข่าทั้งสองข้างลง มือขวาสอดผ่านช่องขา หรือโอบรวบใต้ข้อพับขาของผู้ประสบภัยแล้วเอื้อมไปจับข้อมือ
ขวาของผู้ประสบภัยไว้
5. ค่อย ๆ ยืนขึ้น ขยับให้อยู่ในท่าที่ถนัด ก้าวเดินไปสู่ที่หมายโดยอยู่ในท่าก้มศีรษะเล็กน้อย
6. เมื่อจะวางผู้ประสบภัยลงให้ย่อเข่าลง ค่อยๆ วางผู้ประสบภัยลงในท่านอนหงาย
1.11 การลากลงบันไดหรือที่ชัน (Incline Drag)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าผู้ช่วยเหลือ ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถลุกเดินได้
และต้องเคลื่อนย้ายลงบันไดหรือที่ชัน
วิธีการปฏิบัติ
1. ผู้ช่วยเหลือสอดมือทั้งสองผ่านรักแร้ไปประสานกันที่บริเวณ
อกของผู้ประสบภัย
2. ลากถอยหลังลงบันไดโดยผู้ช่วยเหลือหันหลังก้าวลงบันไดที
ละขั้น (ควรผูกข้อมือและหุ้มส้นเท้าของผู้ประสบภัยด้วย)
1.12 การคลานลาก (Fireman’s Drag)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่หมดสติและมีขนาดตัวใหญ่กว่าหรือเท่ากับผู้ช่วยเหลือ สามารถใช้ได้ดีใน
สถานการณ์ไฟไหม้ หรือต้องเคลื่อนย้ายในลักษณะคลานต่ า (อาจเรียกว่าท่าเสือคาบเหยื่อ)
วิธีการปฏิบัติแบบที่ 1
1. ให้ผู้ประสบภัยนอนหงาย ผูกข้อมือทั้ง 2 ข้าง
2. ผู้ช่วยเหลือนั่งคร่อมผู้ประสบภัย ลอดศีรษะเข้าไปในวงแขน
ของผู้ประสบภัย ให้วงแขนอยู่ที่คอของผู้ช่วยเหลือ
3. ผู้ช่วยเหลือยกตัวขึ้นพร้อมกับขยับไปข้างหน้า ให้ไหล่และคอ
ของผู้ประสบภัยพ้นจากพื้นขยับไปพร้อมๆ กัน คลานขยับพา
ผู้ประสบภัยไปยังที่หมาย
57