Page 60 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 60
2.4 การอุ้มเคียง
การอุ้มเคียง เป็นวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยที่อาจจะมีขนาดตัวเล็กกว่าผู้ช่วยเหลือหรือขนาดตัว
ใหญ่กว่าผู้ช่วยเหลือ ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่เดินไม่ได้ และจ าเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปในท่านอน การอุ้มเคียง
อาจใช้ผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 ถึง 8 คน และมีข้อปฏิบัติที่ควรระลึกถึงเสมอคือ
1) ต้องให้ผู้ประสบภัยอยู่ในแนวตรงเสมอ และก่อนจะยก วาง หรือเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยต้องให้
สัญญา เพื่อความพร้อมเพรียง และป้องกันการดึงรั้ง ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อผู้ประสบภัยได้
2) ผู้ช่วยเหลืออาจยกผู้ประสบภัยโดยอยู่ด้านเดียวกัน หรืออยู่คนละด้านก็ได้ และถ้าอยู่คนละด้าน
อาจเหนี่ยวมือของคนที่อยู่ตรงกันข้ามเพื่อความมั่นคงก็ได้
3) กรณีที่สงสัยว่าผู้ประสบภัยจะมีการบาดเจ็บของกระดูกคอและไขสันหลัง ต้องใช้ผู้ช่วยเหลืออย่าง
น้อย 6 - 8 คน และควรมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน ท าหน้าที่ประคองให้ศีรษะและล าคออยู่ในแนวตรงและ
เคลื่อนไหวน้อยที่สุด
2.4.1 การอุ้มเคียง 3 คน (Three - Man Arm Carry)
วิธีการปฏิบัติ
1. ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน นั่งคุกเข่าข้างผู้ประสบภัย โดยผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 อยู่ระหว่างคอ-ไหล่ ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 อยู่
ระหว่างหลัง–สะโพก ผู้ช่วยเหลือคนที่ 3 อยู่ระหว่างต้นขา-น่องของผู้ประสบภัย จับมือของผู้ประสบภัยวางบน
หน้าอกไขว้ประสานกันไว้บนล าตัว
2. ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน นั่งคุกเข่าทั้งสองข้างให้มั่นคง สอดมือเข้าใต้ร่างของผู้ประสบภัยให้ลึกจนสุดมือที่ต าแหน่งของ
ตน
3. ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน ชันเข่าข้างที่อยู่ด้านศีรษะของผู้ประสบภัย
4. ผู้ช่วยเหลือคนที่1 ให้สัญญาณว่า "เตรียมยก" ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน ขยับมือให้ถนัดและมั่นคง
5. ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ให้สัญญาณว่า "ยก" ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน ยกผู้ประสบภัยวางไว้บนเข่า
6. ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ให้สัญญาณว่า "กระชับ" ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน ขยับมือให้ร่างของผู้ประสบภัย อยู่ในอ้อมแขน
ให้กระชับและมั่นคง (ถ้าผู้ช่วยเหลืออยู่ด้านเดียวกัน ผู้ประสบภัยจะเอนตัวเข้าหาผู้ช่วยเหลือ แต่ถ้าอยู่คนละด้าน
ผู้ประสบภัยจะอยู่บนเข่าของผู้ช่วยเหลือและอยู่ในท่าตรง)
7. ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ให้สัญญาณว่า "เตรียมยืน ยืน" ผู้ช่วยเหลือทั้ง 3 คน ลุกขึ้นยืนในท่าที่มั่นคง
60