Page 65 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 65
กรณีที่จะเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย โดยให้ศีรษะน าไปก่อน มีเพียงกรณีเดินขึ้นบันได กับยกขึ้น
รถพยาบาลเท่านั้น (ศูนย์กู้ชีพพระมงกุฎเก้า, 2561)
3.6 การเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์เปลตักหรือ Scoop (Orthopedic stretcher)
ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่มีกระดูกสันหลัง กระดูกแขนขา สะโพกหัก เพื่อหลีกเลี่ยงการยก
เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยให้น้อยที่สุด อุปกรณ์รับน้ าหนักได้ 130-200 กิโลกรัม
วิธีการช่วยเหลือ
1. หลังจากประเมินแล้วว่าผู้ประสบภัยไม่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอแล้ว แต่ต้องการ
จ ากัดการเคลื่อนไหวในการเคลื่อนย้าย
2. ผู้ช่วยเหลือ 4 คน น าเปลตักมาวางด้านข้างผู้ประสบภัยวัดต าแหน่งให้เปลตักยาวเพียงพอกับ
ความสูงของผู้ประสบภัย ด้วยการปลดล็อคแล้วยืดเปลออก จากนั้นล็อคทั้งซ้ายและขวา จากนั้นจึงค่อยแยก
เปลตักออกจากกัน เพื่อน ามาตักผู้ประสบภัย ระวังไม่ยกเปลตักข้ามตัวผู้ประสบภัย
3. สอดเปลตักเข้าใต้ล าตัวของผู้ประสบภัยทั้งสองข้าง จากนั้นล็อคเปลตักเข้าด้วยกันทั้งทาง
ศีรษะและเท้า
4. รัดสายเข็มขัดต าแหน่งราวนม เหนือกระดูกหัวเหน่า และเข่า จากนั้นใช้สายเข็มขัดรัดข้อมือ
ของผู้ประสบภัยวางไว้บริเวณหน้าอกด้วย
5. ในการเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 และ 2 ประจ าต าแหน่งที่ ด้านข้างศีรษะ ซ้าย และขวา
ผู้ช่วยเหลือคนที่ 3-4 ประจ าต าแหน่ง ด้านข้างขา ทั้งซ้ายและขวา ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 บอกทิศทางที่จะเดินไป
โดยให้น าด้านเท้าไปก่อน แล้วออกค าสั่ง “เตรียมยก” “ยก” “เตรียมเดิน” “เดิน” เมื่อถึงที่หมาย ผู้ช่วย
เหลือคนที่ 1 ออกค าสั่ง “เตรียมวาง” “วาง” การยกผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยมีน้ าหนักมาก อาจใช้ผู้
ช่วยเหลือ 6 คนก็ได้
65