Page 64 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 64

ช่วยเหลืออยู่นาน ผู้ประสบภัยอาจนอนคว่ าไปกับพื้นก็ได้ แล้วจึงประเมินผู้ประสบภัย ก่อนที่จะช่วยเหลือด้วย
               การใส่เฝือกดามคอ (วิธีการใส่เฝือกดามคอ สอนแล้วในหัวข้อปฐมพยาบาล)

                          2. หลังจากผู้ประสบภัยสวมเฝือกดามคอแล้ว จะเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยด้วย long spinal board
               จะใช้การพลิกตัวแบบท่อนซุง (log roll) โดยควรมีผู้ช่วยเหลือ 4 คน คนที่ 1 ประคองที่ศีรษะ คนที่ 2นั่งคุกเข่า
               อยู่ต าแหน่งไหล่และอก คนที่ 3 นั่งคุกเข่าอยู่ต าแหน่งเอวและต้นขา คนที่ 4 นั่งคุกเข่าอยู่ตรงข้ามช่วยเสริฟ LSB

               โดยจัดให้ส่วนท้ายของ LSB อยู่ระหว่างเข่ากับข้อเท้าของผู้ประสบภัย เมื่อพร้อม ผู้ช่วยเหลือที่อยู่ในต าแหน่ง
               ศีรษะเป็นผู้ออกค าสั่ง
                          3. การน าผู้ประสบภัยขึ้น LSB  กรณีที่จะพลิกผู้ประสบภัยโดยให้ตะแคงขวา
                          ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 จะเปลี่ยนมือขวาไปประคองใต้หัวไหล่ของผู้ประสบภัย มือซ้ายอยู่ที่เดิม ก่อน

               เปลี่ยนมือทุกครั้ง จะต้องมีผู้ช่วยเหลืออีกคน มาประคองศีรษะแบบที่เรียกว่า head grip change กระท าโดยผู้
               ช่วยเหลือคนที่ 2 กางนิ้วมือข้างซ้ายประคองที่หน้าผากและศีรษะ และมือขวาประคองใต้คาง ออกแรงประคอง
               ให้ศีรษะอยู่นิ่ง เมื่อผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 วางมือในต าแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 จึงจะปล่อยมือได้
               จากนั้นผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 เตรียมพลิกตัวผู้ประสบภัยโดยเอื้อมมือวางมือต าแหน่งไหล่และก้น  ผู้ช่วยเหลือคนที่

               3 วางมือในต าเหน่งขอบกระดูกเชิงกรานด้านบนไขว้มือกับผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 และข้อพับใต้เข่า  ผู้ช่วยเหลือคน
               ที่ 1 ออกค าสั่ง “พลิกไปด้านขวา” นับ “1, 2, 3 พลิก”  จะพลิกไปทางขวาในแนวตรง 90 องศา จากนั้นผู้
               ช่วยเหลือคนที่ 4  เปิดเสื้อด้านหลังของผู้ประสบภัยแล้วตรวจการบาดเจ็บบริเวณหลังของผู้ประสบภัย จากนั้น
               น าแผ่นกระดาน  LSB ด้วยการเอียง 45 องศาชิดหลังผู้ประสบภัย  ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ออกค าสั่ง “1, 2, 3

               วาง” ซึ่งการวางนี้จะยังไม่อยู่ในต าแหน่งที่ต้องการ จะต้องมีการเลื่อนขึ้นให้ศีรษะอยู่ในต าแหน่งที่วาง head
               immobilizer และกลางกระดาน  การเลื่อนตัวผู้ประสบภัย (ห้ามยกเด็ดขาด) ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 จะต้องเปลี่ยน
               ต าแหน่งการวางมือไปประคองใต้ไหล่ทั้งสองข้างแขนประคองข้างศีรษะของผู้ประสบภัย ก่อนเปลี่ยนมือ ผู้ช่วย

               เหลือคนที่ 2 จะเข้ามาท า head grip change ก่อน  เมื่อผู้ประสบภัยเปลี่ยนมือทั้งสองข้างมาประคองใต้ไหล่
               ทั้งสองข้างเรียบร้อยแล้ว ผู้ประสบภัยคนที่ 2 ใช้สองมือสอดเข้าใต้รักแร้ทั้งสองข้างของผู้ประสบภัย  ผู้ช่วย
               เหลือคนที่ 3 ใช้มือสองข้างประคองที่บริเวณสะโพก เตรียมพร้อมออกแรงในการเลื่อนผู้ประสบภัยขึ้นในแนว
               ทแยงไปอยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม โดยผู้ช่วยเหลือคนที่ 1  ออกค าสั่ง “1, 2, 3 เลื่อน” เมื่อเลื่อนตัวผู้ประสบภัย
               อยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสมแล้ว ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 ท า manual in line ผู้ช่วยเหลือคนอื่นๆ ช่วยกันรัดเข็มขัด

               เพื่อยึดตัวผู้ประสบภัยกับ LSB โดยยึดต าแหน่งเหนือราวนม  เหนือแนวกระดูกหัวเหน่า และเข่า ส าหรับข้อมือ
               ทั้งสองของผู้ประสบภัยให้ใช้สายเข็มขัดรัดให้อยู่บริเวณหน้าอก (การรัดเข็มขัดบริเวณหน้าอก ให้สอดใต้รักแร้
               ห้ามรัดผ่านแขน เพราะจะท าให้การรัดไม่กระชับ) จากนั้น ผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 เข้าไปท า head grip change

               เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 น า head immobilizer มาวางข้างศีรษะทั้งสองข้างให้ชิดมากที่สุด แล้วใสรัดด้วย
               เข็มขัด ผ่านหน้าผาก และอีกสายอยู่ใต้เฝือกดามคอ จากนั้นผู้ช่วยเหลือคนที่ 2 จึงจะปล่อยมือได้

                          4. ในการเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 และ 2 ประจ าต าแหน่งที่ ด้านข้างศีรษะ ซ้าย และขวา
               ผู้ช่วยเหลือคนที่ 3-4 ประจ าต าแหน่ง ด้านข้างขา ทั้งซ้ายและขวา ผู้ช่วยเหลือคนที่ 1 บอกทิศทางที่จะเดินไป

               โดยให้น าด้านเท้าไปก่อน  แล้วออกค าสั่ง “เตรียมยก” “ยก” “เตรียมเดิน” “เดิน”  เมื่อถึงที่หมาย ผู้ช่วยเหลือ
               คนที่ 1 ออกค าสั่ง “เตรียมวาง” “วาง” การยกผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยมีน้ าหนักมาก อาจใช้ผู้ช่วยเหลือ
               6 คนก็ได้





               64
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69