Page 68 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 68

3. เกณฑ์การขอใช้ปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
                         1) มีแพทย์อ านวยการปฏิบัติการฉุกเฉินหรือแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย พิจารณาแล้วให้การรับรองว่าการ

               ล าเลียงส่งต่อ หรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอากาศยาน จะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันการเสียชีวิตหรือการรุนแรง
               ขึ้นของการเจ็บป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้น
                         2) เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติหรือฉุกเฉินเร่งด่วนที่เกินขีดความสามารถของหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน

               หรือสถานพยาบาลและหากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือมีอาการรุนแรงขึ้น โดยให้ค านึงถึง
               สภาพพื้นที่ที่ห่างไกลทุรกันดาร หรือพื้นที่ ประสบภัย หรือพื้นที่เสี่ยงภัยอันตรายประกอบด้วย
                         3) การล าเลียงยาหรือเวชภัณฑ์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์เพื่อการช่วยเหลือ ผู้ป่วยฉุกเฉินใน
               พื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร พื้นที่ประสบภัย หรือพื้นที่เสี่ยงภัย อันตราย

                         4) การขนย้ายอวัยวะหรือชิ้นส่วนของมนุษย์เพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
                         ทั้งนี้ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัด ติดต่อ 1669
                      4. แนวทางการปฏิบัติการฉุกเฉินด้วยอากาศยาน
                         1) ด าเนินการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างเร่งด่วนและจ าเป็นในพื้นที่ห่างไกลการคมนาคม พื้นที่

               ทุรกันดาร หรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยยานพาหนะปกติได้
                         2) ด าเนินการโดยใช้อากาศยาน (เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์) ของหน่วยงานที่ได้ตกลงความร่วมมือ
               ไว้ เพื่อเคลื่อนย้ายหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสม
                         3) การขอใช้หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินทางอากาศต้องได้รับการพิจารณาความเหมาะสม ให้แพทย์

               อ านวยการปฏิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นที่ (พอป.) หรือแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยพิจารณาแล้วรับรองว่าการล าเลียง
               หรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอากาศยานจะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยชีวิตหรือป้องกันการพิการที่อาจเกิดขึ้นจาก
               การบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยอยู่ภายใต้การให้ค าปรึกษาของแพทย์อ านวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน

               ระดับชาติ (พอป.)
                         4) ศูนย์ 1669 จังหวัดแจ้งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อ านวยการโรงพยาบาล และเลขาธิการ
               สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อรับทราบ (ตามขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติการ
               ฉุกเฉินด้วยอากาศยานในแต่ละกรณีไป)
                         5) ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้อากาศยาน ส านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบัน

               การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ โดยเป็นไปตามแนวทางที่คณะท างานจัดท าแนวทาง
               ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินด้วยอากาศยานก าหนดขึ้น และไม่ขัดต่อระเบียบและมติคณะรัฐมนตรี มติ
               คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมติคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน

                         6) ให้มีการก าหนดแนวทางเพื่อถือปฏิบัติเพิ่มเติม ในการด าเนินการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารการเกิด
               เหตุและการขนย้าย การติดต่อประสานงาน การวางแผน การติดต่อสื่อสารทั้งระบบ การขนย้ายภาคพื้นดิน/
               ภาคอากาศ พื้นที่ขึ้น-ลง การเบิกค่าใช้จ่าย และการซักซ้อมปฏิบัติ
                         7) การปฏิบัติหน้าที่/ภารกิจนี้ เจ้าหน้าที่ของกองทัพ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรร
               รมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพและหรือหน่วยงานอื่น

               ที่ได้ท าข้อตกลงในการใช้อากาศยานไว้ ไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างการเดินทางโดยอากาศ
               ยาน หรืออันเนื่องมาจากการเดินทางโดยอากาศยาน รวมทั้งไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายแก่ชีวิตและ
               ทรัพย์สิน ของเจ้าหน้าที่รวมถึงผู้ป่วยและญาติ ระหว่างเดินทางโดยอากาศยาน




               68
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73