Page 72 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 72
การน าพาด้วยท่าเฉียงอก (cross-chest tow) หรือ Hip carry
เมื่อไร: สามารถใช้ได้ทั้งผู้ประสบภัยรู้สติและไม่รู้สติ
ท าไม: เพื่อน าผู้ประสบภัยกลับเข้าระดับน้ าตื้น
ข้อควรระวัง: อยู่ในท่าคุม (defensive position) เพื่อพูดคุยกับผู้ประสบภัยให้เข้าใจ ก่อนที่จะ
เข้าช่วยเหลือและน าพา โดยเฉพาะผู้ประสบภัยที่ตระหนกตกใจ
วิธีการช่วยเหลือ: - อยู่ในท่าคุม พร้อมกับพูดคุยกับผู้ประสบภัยให้เข้าใจก่อนที่จะเข้าช่วยเหลือ
- ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดสอดเข้าใต้รักแร้ผ่านหน้าอกแล้วกอดเฉียงอก และหนีบล าตัว
ผู้ประสบภัยไว้
- ว่ายท่า side stroke เข้าสู่ที่ปลอดภัย โดยสะโพกของผู้ช่วยเหลืออยู่ใกล้กับแผ่น
หลังของผู้ประสบภัย
การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยขึ นจากน าด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
การเคลื่อนย้ายวิธีพยุงเดิน (Walking Assist)
เมื่อไร: ใช้กับบริเวณน้ าตื้น โดยที่ผู้จมน้ ามีลักษณะอ่อนแรงน้ าหนักมาก
ท าไม: เพื่อน าผู้ประสบภัยเข้าที่ปลอดภัย
ข้อควรระวัง: ในขณะที่น าพาให้สอบถามอาการไปด้วย
การเคลื่อนย้ายวิธีลากที่หาด (Beach Drag)
เมื่อไร: ใช้กรณีคนตกน้ าหมดสติมีน้ าหนักตัวมาก โดยพื้นน้ ามีความลาดเอียง
ท าไม: เพื่อน าผู้ประสบภัยเข้าที่ปลอดภัย
ข้อควรระวัง: ในขณะที่น าพาให้ประคองศีรษะให้ดี
ยืนหลังผู้ประสบภัย และจับผู้ประสบภัยที่ใต้รักแร้ประคองศีรษะผู้ประสบภัยให้มาก
ที่สุดด้วยแขนท่อนล่าง ปล่อยให้ rescue tube อยู่ทางท้าย ระวังอย่าเหยียบชนสาย
หรือ tube
ส าหรับการเคลื่อนย้ายด้วยวิธีอื่นๆ เช่นเดียวกับการเคลื่อนย้ายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
การอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
72