Page 75 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 75
การส่งต่อผู้ประสบภัย
อ.ดร.ม.ล.อาบกนก ทองแถม
วัตถุประสงค์
เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งต่อผู้ประสบภัยได้
2. อธิบายหลักการตัดสินใจส่งต่อผู้ประสบภัยได้
3. อธิบายขั้นตอนการส่งต่อผู้ประสบภัยได้
1. ความเป็นมาของระบบการส่งต่อผู้ประสบภัย
ในเหตุการณ์สาธารณภัยมักจะมีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บจ านวนมาก หลังจากที่มีการคัดแยก
(Triage) และให้การรักษา ณ บริเวณเกิดเหตุ (Treatment) แล้ว จะมีผู้บาดเจ็บจ านวนหนึ่งที่จ าเป็นต้องได้รับ
การส่งต่อ (Transfer) เพื่อไปรับการรักษาเฉพาะ (definitive treatment) ต่อเนื่องในโรงพยาบาล ซึ่งนับเป็น
ส่วนส าคัญของการดูแลผู้ประสบภัยก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre hospital care) ซึ่งจะมีผลต่อโอกาสในการรอด
ชีวิตและน าไปสู่ความต่อเนื่องในการดูแลรักษาของผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บ
การส่งต่อผู้ประสบภัยเริ่มขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2309-2385 จากการที่มีการ
เคลื่อนย้ายทหารที่ได้รับบาดเจ็บออกจากสนามรบไปรับการรักษาในโรงพยาบาล ต่อมาในช่วง พ.ศ. 2408 มี
การพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ไปโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่
New York และ Cleveland ขึ้น แต่เกิดประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงขึ้นว่าท าไมจะต้องมีรถโรงพยาบาลออกไปรับ
ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ เพราะถึงอย่างไรผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บก็จะต้องถูกส่งต่อมารับการรักษา
ที่โรงพยาบาลอยู่ดี โดยในปี พ.ศ.2518 Crampton และคณะได้ท าการศึกษาผลของการมีระบบรถโรงพยาบาล
ออกรับผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุก่อนน าส่งโรงพยาบาล พบว่าการประสบความส าเร็จของการกู้
ชีวิตนอกโรงพยาบาลมีถึงร้อยละ 66 และสามารถลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจ
หยุดเต้นนอกโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 26 ซึ่งผลการศึกษานี้น าไปสู่การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS;
Emergency Medical Service) ซึ่งให้การดูแลผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุก่อนการส่งต่อมารับการ
รักษาที่โรงพยาบาลที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บลงได้ อย่างไรก็ตามระบบ
การแพทย์ฉุกเฉินในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน ในประเทศแถบยุโรปส่วนใหญ่ ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
จะสั่งการโดยให้แพทย์ที่ออกไป ณ จุดเกิดเหตุ ท าให้ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษา ณ จุดเกิดเหตุได้
รวดเร็วมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีบางรายงานการวิจัยระบุว่าการที่มีแพทย์ออกไป ณ จุดเกิดเหตุ ท าให้ระยะเวลา
ในการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุนานขึ้น ท าให้ระยะเวลาก่อนน าผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บกลับเข้ามารักษาที่
โรงพยาบาลนานขึ้น ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกา มีนักปฏิบัติการฉุกเฉิน
การแพทย์ (paramedic) เป็นผู้ให้การรักษาภาวะฉุกเฉินเบื้องต้น และน าผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บกลับเข้ามา
รักษาต่อที่โรงพยาบาล
75