Page 76 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 76

2. วัตถุประสงค์ของการส่งต่อผู้ประสบภัย
                     2.1 เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการจัดการภาวะที่คุกคามต่อชีวิตโดยเร็วที่สุด ป้องกันความพิการและการ
               เสียชีวิต

                     2.2 เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการวินิจฉัย/รักษาอย่างเหมาะสมในโรงพยาบาลที่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
               และเครื่องมือ/ อุปกรณ์ที่มีความพร้อมที่จะให้บริการ
                     2.3 ผู้ประสบภัยที่อยู่ในโรงพยาบาลในพื้นที่ประสบภัยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และลดความเสี่ยงที่
               จะได้รับอันตรายจากสาธารณภัย


               3. หลักการตัดสินใจส่งต่อ

                     3.1  ความปลอดภัยและความเป็นไปได้ที่จะด าเนินการส่งต่อ
                           ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะส่งต่อผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลใดนั้น จะต้องมีการประเมินความปลอดภัย
               และความเป็นไปได้ก่อนเป็นอันดับแรก หากสถานการณ์ไม่ปลอดภัย ผู้ประสบภัยและบุคคลากรที่จะน าส่งมี
               ความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายในระหว่างการเดินทางก็ไม่ควรที่จะด าเนินการส่งต่อ

                     3.2  ศักยภาพของโรงพยาบาลที่จะรับส่งต่อ
                           ผู้ที่ท าหน้าที่ตัดสินใจส่งต่อจ าเป็นต้องมีรายการแสดงจ านวนเตียงและศักยภาพของโรงพยาบาลที่
               จะสามารถรับผู้ประสบภัยได้ (Surge capacity) เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าควรจะกระจายผู้ประสบภัยไป

               โรงพยาบาลใด เพื่อไม่ให้ไปแออัดที่โรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่งเกินไป หรือมีการส่งต่อผู้ประสบภัยไปยัง
               โรงพยาบาลที่มีศักยภาพไม่เหมาะสมกับอาการบาดเจ็บของผู้ประสบภัย ทั้งนี้อาจพิจารณาตัดสินใจโดยยึดหลัก
               ดังนี้
                         1) กลุ่มที่ยังมีภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต (Immediate) เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือดที่ยังห้าม

               เลือดไม่ได้ ผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหายใจล าบาก หรือระดับความรู้สึกตัวลดลง จ าเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่
               อยู่ใกล้ที่สุดและมีศักยภาพที่จะสามารถให้การรักษาได้ทันที
                         2) กลุ่มที่มีความรุนแรงรองลงมา (Delayed, Minimal) พิจารณาน าส่งไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ไกล
               ออกไปและมีศักยภาพที่รองลงมา เพื่อแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ซึ่งจะต้องเตรียมการเอาไว้รับ

               ผู้บาดเจ็บอาการหนัก
                         3) กลุ่มที่ไม่บาดเจ็บหรือไม่จ าเป็นต้องรับการรักษาในทันที ควรมีการแยกกลุ่มและส่งออกไปยัง
               พื้นที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บเพิ่มเติมจากที่เกิดเหตุ
                     3.3  ระดับความเฉียบพลัน (Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer) ของผู้ประสบภัย

                         ในสถานการณ์สาธารณภัยมักจะมีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บจ านวนมากที่จ าเป็นต้องได้รับการส่ง
               ต่อไปรับการรักษาที่เหมาะสม ขณะที่ทรัพยากรที่จะใช้ในการส่งต่อมีอยูจ ากัด และอาจไม่เพียงพอกับผู้บาดเจ็บ
               ปริมาณมาก ดังนั้นจึงจ าเป็นต้องมีการประเมินระดับความเฉียบพลันของผู้ประสบภัยเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการ
               ตัดสินใจจัดการทรัพยากรที่จะใช้ในการส่งต่อ

                     3.4  สมรรถนะของบุคลากร
                         การจัดสรรบุคลากรที่จะใช้ในการส่งต่อให้มีสมรรถนะของบุคลากรเหมาะสมกับระดับความ
               เฉียบพลัน ของผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ทั้งนี้บุคลากรจะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ ได้รับการฝึกอบรมมา





               76
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81