Page 81 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 81

2) Breathing & Ventilation
                               Breathing เป็นการประเมินลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ เช่น ไม่หายใจ หายใจล าบาก

               หายใจเร็วมาก > 30 ครั้ง/นาที หรือ หายใจช้ามาก < 8 ครั้ง/นาที ทรวงอก 2 ข้างขยายไม่เท่ากัน มีการบาดเจ็บ
               จากของมีคมหรือถูกกระแทกที่ล าคอ ทรวงอก หลังและหน้าท้อง เป็นโรคหืดหอบ ถุงลมปอดโป่งพอง โรคหัวใจ
               ประเมินความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดหากน้อยกว่า 90-92% ต้องได้รับ O2 Therapy อย่างพอเพียง การจัด

               ท่านอน การช่วยหายใจด้วยการใช้ Ambu bag หรือเครื่องช่วยหายใจในอัตราที่เหมาะสม การใส่ท่อระบายทรวง
               อก (ICD) ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ เช่น ผู้ประสบภัยมีภาวะลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax) ควรพิจารณาใส่
               ก่อนการเคลื่อนย้าย พร้อมยึดตรึงให้อยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม การใช้เครื่องช่วยหายใจต้องติดตั้งและทดสอบกับ
               ผู้ประสบภัยให้เรียบร้อยก่อนการส่งต่อ รวมทั้งค านวณปริมาณ O2 ให้เพียงพอตลอดระยะการเดินทาง

                              3) Circulation & bleeding control
                               Circulation: การประเมินระบบการไหลเวียนเลือด และการท างานของหัวใจโดยประเมิน
               จากอัตราและลักษณะการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต ประเมินการเสียเลือด ระดับความรู้สึกตัวที่
               เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการไหลเวียนเลือดไม่เพียงพอ หากมีภาวะเลือดออกต้องท าการห้ามเลือดอย่างถูกต้อง มี

               การพิจารณาให้สารน้ าในผู้ประสบภัยที่มีข้อบ่งชี้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพอาการ ในกรณีที่ผู้ประสบภัย
               อยู่ในภาวะ Shock ควรให้สารน้ า ด้วย IV catheter ขนาดใหญ่ No.16 หรือ 18 และอาจจ าเป็นต้องให้สารน้ า
               มากกว่า 1 ต าแหน่ง และยึดตรึงไม่ให้เลื่อนหลุด กรณีผู้ประสบภัยวิกฤตควรพิจารณาเปิดเส้นเลือดไว้ 2
               ต าแหน่ง และในกรณีที่ผู้ประสบภัยที่มีการท างานของหัวใจผิดปกติควรพิจารณาให้ยาหรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจ

               ไฟฟ้าในการรักษาเบื้องต้นจนปลอดภัยก่อนการส่งต่อ และพิจารณาติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
               ตามสภาพอาการ
                              4) Disability, Deformity, Drain, Drug

                               ประเมินระดับความรู้สึกตัว ถ้า coma score < 8 ต้องช่วยเหลือด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ
               ดามกระดูกที่หัก รวมทั้งประเมินระบบประสาทและและการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายทั้งก่อนและหลัง
               ดาม ตรวจสอบสาย drain ต่างๆไม่ให้หักพับงอและยึดตรึงเพื่อป้องกันการหลุด ตลอดจนดูแลให้ได้รับยาและ
               สารละลายตามแผนการรักษา
                            ก่อนการส่งต่อจะต้องท าให้ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บมีอาการคงที่ก่อน ซึ่งในการส่งต่ออาจต้องใช้

               เวลาเป็นชั่วโมงในการประสานงานกับโรงพยาบาลปลายทาง ซึ่งการดูแลต่างๆ ไม่ควรหยุดชะงักทั้งระหว่างการ
               ประสานงานและเมื่อการประสานงานเรียบร้อย พยาบาลประจ าจุดปฐมพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามยัง
               จ าเป็นที่จะต้องคอยติดตามอาการของผู้ประสบภัยเป็นระยะๆ และแจ้งให้แพทย์ประจ าจุดปฐมพยาบาลหรือ

               โรงพยาบาลสนาม รวมทั้งโรงพยาบาลปลายทางรับทราบหากผู้ประสบภัยมีอาการเปลี่ยนแปลง
                    4.2  การดูแลผู้ประสบภัยระหว่างเดินทาง
                        ในการดูแลผู้ประสบภัยระหว่างเดินทางควรมีระบบการอ านวยการทางการแพทย์ (Medical
               control) ที่สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรง (online) และทางอ้อม (off line) ที่จะสามารถให้ค าแนะน ากับทีมส่ง
               ต่อในการดูแลผู้ประสบภัยตลอดระยะเวลาในการส่งต่อ โดยขั้นตอนการส่งต่อในระหว่างเดินทาง มีดังนี้

                        1) ก่อนรถพยาบาลเคลื่อนออกไป ควรตรวจสอบสภาพความเรียบร้อยและความพร้อมในการใช้
               งานของเครื่องมือ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ต่างๆ เช่น ระบบไฟ ระบบ Suction และ Oxygen ส ารองใน
               รถพยาบาลให้มีเพียงพอตลอดการเดินทาง





                                                                                                       81
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86