Page 82 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 82

2) ขณะน าส่งต้องประเมินสภาพผู้ประสบภัย และเขียนบันทึกเป็นระยะ ซึ่งขณะน าส่งต้องประเมิน
               สภาพผู้ประสบภัยในเรื่องต่างๆ ดังนี้

                             (A) Airway: การตรวจท่อช่วยหายใจ End tidal CO2 เป็นระยะๆ
                             (B) Breathing: ประเมิน oxygen sat และตรวจเช็คปริมาณ oxygen tank
                             (C) Circulation: การตรวจเช็คความดันโลหิต ชีพจร I/O, bleeding

                             (D) Drain: ปลดสาย drain ที่ clamp และประเมินและบันทึกปริมาณสารคัดหลั่งที่ออก
                             (E) Eye: ประเมิน pupil รวมทั้ง Glasgow Coma Score ตามความเหมาะสม
                             (F) Fluid: ตรวจเช็คการหยดของสารน้ าและยาที่ให้ทางเส้นเลือด
                        3) กรณีที่พบความผิดปกติของผู้ประสบภัยขณะส่งต่อ ต้องรายงานแพทย์ผู้สั่งการรักษารับทราบ

               ทันที เพื่อการสั่งการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที
                        4) ให้การดูแลตามค าสั่งการรักษา และแนวปฏิบัติรายโรคที่ได้ก าหนดไว้
                        5) ติดต่อประสานงานโรงพยาบาลปลายทางเป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อผู้ประสบภัยมีอาการ
               เปลี่ยนแปลง รวมทั้งแจ้งก าหนดเวลาที่คาดว่าจะไปถึง เพื่อให้โรงพยาบาลได้เตรียมการรับผู้ประสบภัยก่อนไป

               ถึงตามแนวทางหรือข้อตกลงที่ก าหนดไว้
                        6) ตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะส่งต่อผู้ประสบภัย ทั้งความเสี่ยงทั่วไป และความ
               เสี่ยงเฉพาะตามกลไกลการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากสาธารณภัยประเภทต่างๆ
                        7) ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ก่อนถึงโรงพยาบาล

               ปลายทาง
                        8) ประเมินสภาพผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ตรวจสอบสัญญาณชีพ และอาการเปลี่ยนแปลงก่อนถึง
               โรงพยาบาลปลายทาง

                     4.3 การดูแลผู้ประสบภัยเมื่อถึงโรงพยาบาลปลายทาง
                        4.3.1 การเตรียมรับผู้ประสบภัยของโรงพยาบาลปลายทาง
                            1) รับแจ้งประสานการส่งต่อผู้ประสบภัย เช่น ข้อมูลผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ, การวินิจฉัย, การ
               รักษาที่ได้รับ, เหตุผลที่ขอส่งต่อ
                            2) คาดการณ์เวลาที่ผู้ประสบภัยจะมาถึง

                            3) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                            4) จัดการส่งต่อฉุกเฉิน และส่งต่อช่องทางด่วน (Fast Track) โดยค านึงถึงความปลอดภัยและ
               ความรวดเร็วทันเวลาในการรับการรักษาเฉพาะของผู้ประสบภัยแต่ละราย

                            5) รับรายงานข้อมูลอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ประสบภัย
                            6) จัดเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์พร้อมรับผู้ประสบภัย
                            7) จัดเตรียมเวชระเบียน
                        4.3.2 การรับมอบผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บฉุกเฉิน
                            1) ประเมินสภาพแรกรับของผู้ประสบภัย และตรวจสอบข้อมูลของผู้ประสบภัย เช่น EKG, ผล Lab

                            2) บันทึกอาการเปลี่ยนแปลงและการปรึกษาแพทย์ หรือการรักษาที่ได้รับ
                            3) รับรายงานอาการจากบุคลากรที่น าส่ง โดยเฉพาะสัญญาณชีพ อาการเปลี่ยนแปลงที่ทรุดลง
               และการรักษาที่ท าระหว่างเดินทาง รวมทั้งรายงานอื่นๆ เช่น EKG ภาพถ่าย เป็นต้น




               82
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86