Page 80 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 80
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Develop หรือ Doing จ านวน 1 คน
3) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Basic จ านวน 1 คน
H : Stable with High risk of deterioration น าส่งโดยทีมจ านวนรวมทั้งสิ้น อย่างน้อย 2
คน ซึ่งประกอบด้วย
1) หัวหน้าทีม จ านวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Develop
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Doing จ านวน 1 คน
M : Stable with Medium risk of deterioration น าส่งโดยทีมจ านวนรวมทั้งสิ้น อย่างน้อย
2 คน ซึ่งประกอบด้วย
1) หัวหน้าทีม จ านวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Doing
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Basic จ านวน 1 คน
กรณี ระดับ M ชนิด fast track เช่น STEMI fast track, Stroke fast track, Trauma fast track
ให้น าส่งโดยทีมบุคลากรเช่นเดียวกับระดับ H
L : Stable with Low risk of deterioration น าส่งโดยพยาบาลวิชาชีพระดับ Basic จ านวน
1 คน
N : Stable with No risk of deterioration น าส่งโดยไม่จ าเป็นต้องมีพยาบาลวิชาชีพไปด้วย
4.1.3 การเตรียมผู้ประสบภัยก่อนการส่งต่อ
ก่อนการส่งต่อ (Pre-transfer) ผู้ประสบภัย จะต้องมีการเตรียมผู้ประสบภัยเพื่อให้แน่ใจว่า
ผู้ประสบภัยจะปลอดภัยและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยที่สุดในระหว่างการส่งต่อ โดยจะต้องมีการเตรียม
ผู้ประสบภัยในด้านต่างๆ ได้แก่ A B C D และมาตรฐานรายโรคตามความจ าเป็นของพื้นที่ จน
ผู้ประสบภัยมีเสถียรภาพและปลอดภัยก่อนการส่งต่อ รวมทั้งมีการให้ข้อมูลการเจ็บป่วย แผนการรักษา เหตุผล
ความจ าเป็นในการส่งต่อ และเปิดโอกาสให้แก่ผู้ประสบภัยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจส่งต่อ การเตรียม
ผู้ประสบภัยก่อนการส่งต่อประกอบด้วยการดูแล 4 ด้านที่ส าคัญ ดังนี้
1) Airway & C-spine Protection
Airway: การประเมินทางเดินหายใจของผู้ประสบภัยต้องสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ลิ้นอุด
กั้นในทางเดินหายใจ ฟันหักหลุดหาย มีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เลือดออกในปากอาเจียน หรือมีเสมหะ ใบหน้า
บวมผิดรูป การส าลักควันจากเปลวไฟ การบวมของทางเดินหายใจ ต้องดูแลช่วยเหลือให้มีความปลอดภัยก่อน
การส่งต่อ หากมีการอุดกั้นในทางเดินหายใจที่ท าให้เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิต ต้องท าการช่วยเหลือก่อน เช่น
การดูดเสมหะและสารคัดหลั่ง (Suction clear airway) การน าสิ่งแปลกปลอมออกจากทางเดินหายใจ
(Remove Foreign Body) การใส่ท่อช่วยหายใจ และการยึดตรึงให้อยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสม ไม่เลื่อนหลุด
หรือหักงอ และตรวจสอบการรั่วซึมของ Cuff ในกรณีผู้ประสบภัยไม่รู้สึกตัวต้องงดน้ าและอาหารทางปากเพื่อ
ป้องกันการส าลักด้วย
C-spine: มีการ protect c-spine ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในผู้บาดเจ็บที่สงสัยหรือมีการ
บาดเจ็บที่กระดูกส่วนคอ ให้ใส่ hard collar อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งขนาดและวิธีการใส่ และใช้ Head
Immobilizer เพื่อให้ศีรษะอยู่นิ่งหน้าตรง และให้ผู้บาดเจ็บนอนบนกระดานแข็งพร้อมอุปกรณ์รัดตรึงที่มีการใส่
อย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยส่งต่อผู้บาดเจ็บด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งประเมิน Neuro deficit ก่อน
และหลังการส่งต่อทุกครั้ง
80