Page 78 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 78

3.8  สิทธิ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
                         ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะส่งต่อผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลใดนั้น จะต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์การ

               เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยถึงแม้จะเป็นการรักษาในภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากระหว่างการรักษาอาการบาดเจ็บ
               นั้นอาจมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่ครอบคลุมสิทธ์การรักษาในภาวะฉุกเฉิน จะต้องมี
               การให้ข้อมูลแก่ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บและญาติทราบก่อนการตัดสินใจส่งต่อด้วย

                     3.9  ความต้องการของผู้ประสบภัยและญาติ
                         ระหว่างการส่งต่อ ผู้ประสบภัยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ดังนั้นญาติจะต้องรับทราบความเสี่ยงที่
               จะเกิดขึ้นและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจส่งต่อ


               4. ขั นตอนการส่งต่อ
                     4.1  ก่อนการส่งต่อ (Pre Transfer)

                         4.1.1 การประเมินผู้ประสบภัย
                               ในอดีตมักมีปัญหาในเรื่องแนวปฏิบัติและมาตรฐานในการจัดเตรียมทรัพยากรในการส่งต่อ
               ผู้ประสบภัย เช่น บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ยา สารน้ า และเวชภัณฑ์ ที่ต้องน าขึ้นไปบน
               รถพยาบาลอีกด้วย ปัจจุบันสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยได้น าแนวทางการแบ่งระดับความ

               เฉียบพลัน (Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer) ของผู้ประสบภัย ตามมาตรฐานการน าส่ง
               ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บฉุกเฉินของประเทศสหรัฐอเมริกา (National Highway Traffic Safety Administration
               [NHTSA], 2002) มาเป็นตัวก าหนดแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาล

               เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและโรงพยาบาลปลายทางในการบริหารจัดการ
               ทรัพยากรให้เหมาะสมกับสภาพอาการของผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ โดยในการประเมินจะแบ่งประเภท
               ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บเป็น 5 ระดับ ดังนี้
                               U : Unstable (ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บไร้เสถียรภาพ) หมายถึงผู้ประสบภัยที่หลังให้การ
               ดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ไร้เสถียรภาพ หรือมีความต้องการการดูแลที่เฉพาะเจาะจงขั้น

               สูงเป็นพิเศษ เช่น Post cardiac arrest, Multiple trauma ที่มีสัญญาณชีพไม่คงที่ซึ่งต้องการการรักษา
               จ าเพาะในเวลาที่จ ากัด
                               H : Stable with High risk of deterioration (ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บมีเสถียรภาพ

               แต่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูง) หมายถึงผู้ประสบภัยมีประวัติเสถียรภาพต่ าและหลังให้การดูแล
               รักษาอย่างเต็มที่แล้ว สัญญาณชีพมีเสถียรภาพ แต่ยังความจ าเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดระหว่าง
               ส่งต่อโดยการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ/การหายใจ/ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด/ความดันโลหิต/ระดับ
               ความรู้สึกตัว เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงต่อการทรุดลงอย่างเฉียบพลันระหว่างการส่งต่อ

                               M :   Stable with Medium risk of deterioration (ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บมี
               เสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปานกลาง) หมายถึง ผู้ประสบภัยที่สัญญาณชีพมีเสถียรภาพ
               แต่ยังความจ าเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดระหว่างส่งต่อ หรือผู้ประสบภัยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูง
               ทางหลอดเลือดด าซึ่งจ าเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เช่น Heparin, Nitroglycerine เป็นต้น








               78
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83