Page 77 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 77
สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินได้
อย่างถูกวิธีก่อนน าส่งโรงพยาบาล
3.5 ยานพาหนะและทรัพยากรที่จะใช้ในการส่งต่อ
ยานพาหนะที่จะใช้ในการส่งต่อจะต้องมีศักยภาพรองรับระดับความเฉียบพลันของผู้ประสบภัย/
ผู้บาดเจ็บ คือมีอุปกรณ์ที่พร้อมใช้ในการช่วยเหลือหากผู้ประสบภัย/ ผู้บาดเจ็บ มีอาการแย่ลงในระหว่างการส่ง
ต่อ โดยอาจแบ่งยานพาหนะตามศักยภาพแบบกว้างๆ เป็น 2 ระเภท ได้แก่
1) การน าส่งโดยยานพาหนะทางการแพทย์ (Medical evacuation : MedEvac) มีอุปกรณ์ทาง
การแพทย์ เช่น รถพยาบาล (Advanced Life Support / Basic Life Support) สามารถให้การดูแลรักษา
ผู้ป่วยต่อเนื่องระหว่างน าส่ง ใช้น าส่งผู้บาดเจ็บรุนแรง ที่จ าเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องตลอดการน าส่ง
2) การน าส่งโดยยานพาหนะทั่วไป (Civil evacuation) สามารถเคลื่อนย้ายน าผู้บาดเจ็บขึ้นได้ แต่
ไม่มีอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย อาจน าอุปกรณ์การแพทย์บางชนิดไปด้วยได้ ใช้น าส่งผู้บาดเจ็บที่มีความรุนแรงไม่มาก
และมีอาการคงตัว รวมไปถึงการขนส่งมวลชนที่ไม่ได้รับบาดเจ็บออกจากพื้นที่เกิดเหตุ ผู้ให้การรักษาที่บริเวณเกิด
เหตุ จะต้องประเมินจ านวนผู้บาดเจ็บที่จ าเป็นต้องน าส่ง และความเพียงพอของจ านวนยานพาหนะ อยู่เป็นระยะ
และขอสนับสนุนเพิ่มเติม โดยรถพยาบาลจะต้องได้มาตรฐานและมีการประกันภัย มีอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมใช้
โดยเฉพาะ Oxygen ระบบไฟ และพลังงานส ารองในรถพยาบาลจะต้องมีเพียงพอตลอดการเดินทาง
3.6 จ านวนผู้ประสบภัย
ภายหลังการเกิดสาธารณภัย จ านวนผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บและต้องการได้รับการส่งต่อไปรับ
การรักษามักจะมีจ านวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ทรัพยากรที่ใช้ในการส่งต่อมีอยู่อย่างจ ากัด ผู้ที่ท าหน้าที่ตัดสินใจ
ในการส่งต่อจะต้องวางแผนการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัดนี้ให้เหมาะสม โดยมีการคาดการณ์ถึงจ านวน
ผู้ประสบภัยที่จะเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมาด้วย
3.7 การคมนาคม
การคมนาคมเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ต้องน ามาพิจารณาในการตัดสินใจส่งต่อ โดยเฉพาะกรณีที่
ต้องส่งต่อด้วยรถยนต์ ผู้ที่ตัดสินใจส่งต่อจะต้องตรวจสอบว่าเส้นทางที่จะใช้มีการคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงไป
ภายหลังเกิดภัยพิบัติหรือไม่ เช่น ถนนขาด มีน้ าท่วมขังจนรถยนต์ธรรมดาไม่สามารถแล่นผ่านไปได้ ผู้ที่ท า
หน้าที่ตัดสินใจส่งต่อจึงจ าเป็นต้องมีข้อมูลเส้นทางการคมนาคมที่เป็นปัจจุบัน และควรปรึกษาผู้ที่ช านาญ
เส้นทางเพื่อให้สามารถเลือกเส้นทางได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการขอสนับสนุนยานพาหนะ เช่น เรือท้องแบน
รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อยกสูง หรือในกรณีที่ได้ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกระทันหันและ
จ าเป็นต้องส่งต่อไปรับการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือเกิดความพิการ ขณะที่
โรงพยาบาลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้การรักษาได้อยู่ไกลหรือเส้นทางการคมนาคมได้รับความเสียหาย
จากภัยพิบัติไม่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บด้วยยานพาหนะทางบกได้ตามปกติได้ทันเวลา ก็
อาจจ าเป็นต้องพิจารณาขอการสนับสนุนอากาศยานเพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บเพื่อให้
ได้รับการส่งต่ออย่างรวดเร็วทันเวลา อย่างไรก็ตามจะต้องมีการประเมินสภาพการบาดเจ็บของผู้ประสบภัย/
ผู้บาดเจ็บก่อนว่าไม่มีข้อห้ามในการขนส่งด้วยอากาศยาน ขณะเดียวกันจะต้องมีแพทย์และพยาบาลที่ได้รับการ
อบรมการขนส่งด้วยอากาศยานให้การดูแลผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บในระหว่างเดินทาง
77