Page 79 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 79

L : S table with Low risk of deterioration (ผู้ประสบภัยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยง
               ต่อการทรุดลงอย่างเฉียบพลันต่ า) หมายถึง ผู้ประสบภัยที่มีอาการคงที่ ไม่จ าเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพ

               อย่างใกล้ชิด แต่ยังจ าเป็นต้องได้รับการเปิดเส้นและให้สารน้ าระหว่างการส่งต่อ
                               N : Stable with No risk of deterioration (ผู้ประสบภัยมีเสถียรภาพ ไม่มีความเสี่ยง
               ต่อการทรุดลงอย่างเฉียบพลัน) หมายถึงผู้ประสบภัยที่มีอาการคงที่ ไม่จ าเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่าง

               ใกล้ชิด และไม่จ าเป็นต้องได้รับการเปิดเส้นหรือให้สารน้ าระหว่างส่งต่อ แต่มีความจ าเป็นต้องส่งไปโรงพยาบาล
               ที่มีศักยภาพสูงกว่า ซึ่งอาจไปโดยวิธีไปด้วยตนเอง หรือโดยรถพยาบาลน าส่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์
                         4.1.2 การเตรียมบุคลากรที่จะน าส่งของผู้ประสบภัยตามระดับความเฉียบพลันของผู้ประสบภัย
                               สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยได้มีการแบ่งระดับสมรรถนะของบุคลากรในการ

               ส่งต่อไว้ดังนี้
                               1) แพทย์: มีการแบ่งสมรรถนะของแพทย์ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                                  ระดับ 1 แพทย์ที่ผ่านการอบรม Basic Interfacility Ground Transportation + ACLS
               หรือหลักสูตรเทียบเคียง

                                  ระดับ 2 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม Basic Interfacility
               Ground Transportation + ACLS + PALS + ATLS/ITLS หรือหลักสูตรเทียบเคียง
                                  ระดับ 3 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ที่ผ่านการอบรม Critical Care Transportation หรือ
               หลักสูตรเทียบเคียงการปฏิบัติการส่งต่อผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาล (Interfacility

               Patient Transfer)
                               2) พยาบาลวิชาชีพ: มีการแบ่งระดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพตาม กพร.เป็น 4 ระดับ ดังนี้
                                  ระดับ Basic : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 0-1 ปี และผ่านการ

               ฝึกอบรม Basic Interfacility Ground Transportation
                                  ระดับ Doing : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 1-3 ปี ผ่านเกณฑ์
               สมรรถนะระดับ Basic และผ่านการฝึกอบรม ACLS + PALS หรือ หลักสูตรเทียบเคียง
                                  ระดับ Develop : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 3-5 ปี ผ่านเกณฑ์
               สมรรถนะระดับ Doing และผ่านการฝึกอบรม ITLS + Neonatal Resuscitation หรือหลักสูตรเทียบเคียง

                                  ระดับ Advance : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน มากกว่า 5 ปี ผ่าน
               เกณฑ์สมรรถนะระดับ Develop และผ่านการฝึกอบรม Critical Care Transportation หรือหลักสูตร
               เทียบเคียง กรณีที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเวชปฏิบัติฉุกเฉิน (Emergency Nurse Practitioner : ENP) ให้

               เทียบเท่าระดับ 3 โดยไม่นับประสบการณ์ในห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินตามที่ก าหนด
                         เมื่อโรงพยาบาลต้นทางประเมินผู้ประสบภัยฉุกเฉินแล้วว่ามีความจ าเป็นต้องส่งต่อ แพทย์หรือ
               พยาบาลจะต้องประสานงานกับโรงพยาบาลปลายทาง โดยประเมินระดับความเฉียบพลันของอาการ
               ผู้ประสบภัยร่วมกัน เพื่อเตรียมทรัพยากรให้เหมาะสมกับระดับความเฉียบพลันและอาการของผู้ประสบภัยแต่
               ละราย ดังนี้

                           U : Unstable น าส่งโดยทีมจ านวนรวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วย
                           1) หัวหน้าทีม จ านวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Advance (หากมีแพทย์ติดตามส่ง
               ผู้ประสบภัย/ผู้บาดเจ็บ ให้แพทย์ท าหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม)





                                                                                                       79
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84