Page 67 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 67
การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยทางอากาศยาน (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2557)
1. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ แบ่งตามภารกิจเป็น 2 แบบ คือ
1.1. ปฐมภูมิ (Primary Mission) หมายถึงการปฏิบัติการฉุกเฉินที่ท าก่อนถึงโรงพยาบาล หรืออาจ
เรียกว่า helicopter emergency medical service (HEMS) ปฏิบัติโดยใช้เฮลิคอปเตอร์เท่านั้น
1.2 ทุติยภูมิ (Secondary Mission) หมายถึงการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่งไปที่ที่มี
ศักยภาพสูงกว่าหรืออาจเรียกว่า Inter-Facility transfer ซึ่งอาจใช้อากาศยานหลายแบบ เช่น เครื่องบิน เป็น
ต้น ซึ่งในปี พ.ศ. 2552-2553 ได้มีการอบรมหลักสูตรการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้นให้กับแพทย์
พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉินประมาณ 400 คนจากหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศ และมีการอบรมเพิ่มเติม
เพื่อเพิ่มพูนทักษะขั้นสูงในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินและตั้งชื่อชุดปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินทางอากาศว่า สกาย
ดอกเตอร์ (SKY DOCTOR) โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
2. หลักการส าคัญของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินทางอากาศยาน (Principle of Aeromedical
transportation)
การเคลื่อนย้ายส่งต่อผู้ป่วยที่รวดเร็วเหมาะสมจะเป็นการลดภาวะความรุนแรง ของการเจ็บป่วยได้
เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความจ าเป็นต้องใช้พาหนะในการส่งต่อที่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย หลักส าคัญของการ
เคลื่อนย้ายหรือการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยาน มีสิ่งที่ต้องค านึงมากกว่าการเคลื่อนย้ายส่งต่อผู้ป่วยทางบก
หลายประการ เนื่องจากสภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนที่สูงนั้นแตกต่างจากพื้นดินอย่างมาก รวมถึง
มีข้อจ ากัด อันเกิดจากการบินและอากาศยาน ซึ่งหลักการส าคัญที่จ าเป็นต้องค านึงถึงไว้ มีดังนี้
1) สรีรวิทยาการบิน (Flight Physiology) ระดับความสูงเป็นสาเหตุส าคัญที่สุดต่อภาวะพร่อง
ออกซิเจนของผู้ป่วย โดยเฉพาะเมื่อความสูงเหนือระดับน้ าทะเลมากกว่า 10,000 ฟุต
2) การประเมินอาการผู้ป่วยก่อนบิน (Preflight Assessment and Fit for air travel) ประเมิน
อย่างเป็ระบบตามแนวทาง advanced life support
3) การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ (Aeromedical team
qualification and Training) บุคลากรต้องผ่านการอบรมหลักสูตรฝึกอบรมล าเลียงผู้ป่วยทางอากาศเบื้องต้น
หรือ Basic Aeromedical Evacuation (BAME) และการล าเลียงผู้ป่วยขั้นสูงหรือ Advance Care Air
Transport (ACAT)
4) การเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่เหมาะสมกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ (Equipment for
Aeromedical transport)
5) การดูแลผู้ป่วยบนอากาศยาน (Inflight medical care and management)
6) การประสานกับสถานพยาบาลปลายทาง (Receiving facility management)
7) การเก็บข้อมูลและเอกสารที่จ าเป็นส าหรับการส่งต่อผู้ป่วย (Inflight documentation)
8) ความรู้เกี่ยวกับอากาศยานและหลักนิรภัยการบินที่จ าเป็น (Aircraft and flight safety)
9) การเตรียมที่ขึ้นลงอากาศยาน และประสานหน่วยภาคพื้น (Logistic and ground support)
10) เกณฑ์และเงื่อนไขการขอใช้อากาศยาน (Criteria for Aeromedical transportation)
67