Page 69 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 69
การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยทางน า (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2557)
การป่วยเจ็บเหตุทางน้ าพบเป็นสาเหตุที่ส าคัญอย่างหนึ่งของปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย
จากข้อมูลสถิติการป่วยเจ็บเหตุทางน้ าในประชากรทั่วไปเป็นรองเพียงแต่อุบัติเหตุการจราจร การป่วยเจ็บเหตุ
ทางน้ าที่มีระดับความรุนแรงมากที่สุด คือ การจมน้ า เหตุการณ์จมน้ าที่เด่นชัดหนึ่ง คือ อุบัติเหตุการจราจรทาง
น้ า ตลอดจนภัยพิบัติทางน้ าซึ่งสามารถมีมาตรการในการจัดการ และป้องกันที่มีประสิทธิภาพได้ นอกจากการ
จมน้ า การป่วยเจ็บจากการด าน้ าพบมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยมีกิจกรรม
การด าน้ า ด้วยสคูบามากขึ้น และจากข้อมูลการรายงานพบมีอุบัติการณ์การป่วยเจ็บสูงขึ้นอีก ทั้งการป่วยเจ็บ
จากการด าน้ า สคูบา มีความจ าเพาะต้องอาศัยองค์ความรู้และทักษะเฉพาะในการจัดการดูแลและน าส่งผู้ป่วย
ไปยังสถานพยาบาลที่มีห้องปรับแรงดันบรรยากาศสูง ซึ่งปัจจุบันองค์ความรู้ทางด้านนี้ได้รับการแพร่กระจายไป
ยังหน่วยงานนอกกองทัพเรือเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกันกับการป่วยเจ็บจากสัตว์น้ าหรือสัตว์ทะเลที่เป็นอันตราย
ซึ่งมีความจ าเพาะและต้องอาศัยองค์ความรู้ในการให้การดูแลก่อนถึงโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม แม้จะมีความ
รุนแรงของโรคที่ท าให้เสียชีวิตต่ ากว่า จากการวิเคราะห์การป่วยเจ็บเหตุทางน้ าที่เหมาะสมในการฝึกอบรม
พัฒนาบุคลากร ด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้สามารถรองรับการป่วยเจ็บเหตุทางน้ าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อ
ป้องกันการเสียชีวิต และทุพพลภาพ ได้แก่ การจมน้ า การป่วยเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางน้ า ภัยพิบัติทางน้ า
เบื้องต้น การป่วยเจ็บเหตุ ด าน้ าสคูบา การป่วยเจ็บจากสัตว์น้ า/ทะเลที่มีอันตราย ซึ่งการอบรมจะเป็นการต่อ
ยอดองค์ความรู้ของบุคลากร ด้านการแพทย์ฉุกเฉินให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นในการรองรับการป่วยเจ็บที่อาจ
พบได้ในพื้นที่รับผิดชอบ ตลอดจนภัยพิบัติทางน้ าที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต นอกจากนี้ยังพบว่าบุคลากรทาง
การแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมีความเสี่ยงในการปฏิบัติการทางน้ า ในบริบทสาธารณภัยทั้ง อุทกภัย และ
วาตภัยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หากไม่มีความรู้ความเข้าใจในความปลอดภัยทางน้ า ตลอดจน
ทักษะในการเอาชีวิตรอด และการช่วยชีวิตขั้นต้น การบูรณาการความปลอดภัยทางน้ าเข้ากับหลักสูตรจึงมี
ความจ าเป็น เช่นเดียวกัน แหล่งน้ าสร้างขึ้น เช่น สระน้ า และแหล่งน้ าธรรมชาติ ในแต่ละแห่งทั้งภาคเอกชน
หรือภาคสาธารณะ การชีวพิทักษ์ (lifeguarding) เป็นอีกหนึ่งบริบทที่ส าคัญในการแก้ไขปัญหาของชายฝั่งของ
ประเทศ ซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไปเช่นประเทศพัฒนา ที่มีแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่ง การพัฒนาบุคลากรทั่วไปทั้งที่
เป็นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า หรือที่มิใช่ทางการแพทย์แต่มีทักษะทางน้ าดีมาฝึกเป็นอาสาสมัครการกู้
ชีพและช่วยชีวิตทางน้ า อาจเป็นหนทางหนึ่งในการพัฒนาระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ าได้ การ
พัฒนาการฝึกอบรมให้กับทั้งบุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรทั่วไปจึงมีความส าคัญต่อการแก้ไขปัญหาการ
ป่วยเจ็บเหตุทางน้ า ซึ่งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย
การแก้ไขปัญหาการป่วยเจ็บจากการจมน้ า การเข้าใจห่วงโซ่ของการรอดชีวิตจากการจมน้ ามี
ความส าคัญ และการแก้ไขจะรวมทั้งการป้องกัน การรองรับการจมน้ า โดยการเข้าช่วย การให้การดูแล การ
เคลื่อนย้าย และการส่งต่อ ดังนี้ (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, 2557)
1. การป้องกัน-ปลอดภัยทางน้ า โดยเด็กที่ว่ายน้ าไม่เป็น ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ า ให้อยู่ในระยะมือ
เอื้อมถึง - ว่ายน้ าในพื้นที่ปลอดภัยที่มีเจ้าหน้าที่ชีวพิทักษ์ - ล้อมรั้ว 4 ด้าน ของสระว่ายน้ าและสปา – สวมเสื้อ
ชูชีพทุกครั้ง ส าหรับเด็ก ผู้ที่ว่ายน้ าอ่อน หรือเมื่อต้องโดยสารเรือ – เรียนรู้ในการว่ายน้ า และทักษะการเอาชีวิต
รอดทางน้ า
2. รู้จักอาการคับขัน-ร้องขอความช่วยเหลือ โดยการ - ผู้ประสบภัยแสดงสัญญาณที่ต้องการจะ
สื่อสาร - ตระหนักเสมอว่าผู้ประสบภัยอาจไม่โบกมือ หรือร้องขอความช่วยเหลือ - แจ้งผู้อื่นไปตามความ
69