Page 63 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 63
3. เมื่อจะเคลื่อนย้าย ผู้ช่วยเหลือ 2 คน หรือ 4 คน จับที่รอยต่อระหว่างผ้ากับไม้พลอง โดยที่ผู้
ช่วยเหลือคนหนึ่งหันหน้าเข้าหาศีรษะของผู้ประสบภัย ในขณะที่อีกคนหนึ่งจะหันหลังออกจาก
ผู้ประสบภัย ผู้ช่วยเหลือที่อยู่ด้านศีรษะ เป็นคนออกค าสั่ง “เตรียมยก” “ยก” “เตรียมเดิน”
“เดิน” เวลาเคลื่อนย้ายให้เดินออกโดยน าทางด้านเท้าของผู้ประสบภัยไปก่อน
ในบางกรณีที่ไม่สามารถหาเปลพยาบาลได้ จ าเป็นต้องดัดแปลงอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อน ามาใช้แทนเปล
เช่น บานประตู เตียง แคร่ รถเข็น ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง เสื้อผ้า ผ้าขาวม้า ซึ่งต้องค านึงถึงความแข็งแรงของวัสดุ
ต่างๆ ที่น ามาประยุกต์ใช้ด้วย และก่อนที่จะน ามาใช้กับผู้ประสบภัย ควรได้มีการทดสอบก่อนเพื่อลดโอกาส
เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากการใช้เปลประยุกต์ที่ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ
3.4 การเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์ Wheeled stretcher
ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยขึ้นรถพยาบาล รับน้ าหนักได้ถึง 300 กิโลกรัม สามารถปรับ position
ผู้ประสบภัยได้หลายท่า
Wheeled stretcher LSB
3.5 การเคลื่อนย้ายโดยใช้อุปกรณ์แผ่นกระดานรองหลังแบบยาว (Long spinal board with
Head immobilizer)
ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอน ป้องกันการบาดเจ็บกระดูกคอ
กระดูกสันหลัง ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประคองข้างศีรษะ รับน้ าหนักได้ถึง 300 กิโลกรัม
วิธีการช่วยเหลือ
1. ภายหลังจากที่ประเมินเบื้องต้นสงสัยว่าผู้ประสบภัย อาจมีการบาดเจ็บที่หลัง กระดูกต้นคอ ให้
เริ่มช่วยเหลือด้วยการจัดให้ผู้ประสบภัยนอนในท่านอนหงาย ตรึงให้ล าคออยู่ในท่าตรง ช่วยเหลือโดยการท า
manual-in-line stabilization เป็นการที่ผู้ช่วยเหลือคนหนึ่งนั่งคุกเข่าเหนือศีรษะผู้ประสบภัย กางฝ่ามือทั้ง
สองข้างสอดเข้าที่ศีรษะ ให้นิ้วกลางและนิ้วนางอยู่ระหว่างใบหูของผู้ประสบภัย นิ้วโป้งอยู่ที่หน้าผาก นิ้วชี้อยู่ที่
โหนกแก้ม ส่วนนิ้วก้อยประคองบริเวณท้ายทอย ผู้ช่วยเหลือวางศอกลงกับพื้น ออกแรงตรึงให้ศีรษะอยู่นิ่ง
หากท าได้ถูกต้องจะท าให้ผู้ประสบภัยไม่สามารถขยับคอได้ ป้องกันการบาดเจ็บของกระดูกต้นคอ กรณีที่อาจ
63