Page 52 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 52

12) เมื่อเสร็จสิ้นการเคลื่อนย้ายควรบันทึกรายงานเกี่ยวกับจ านวนผู้บาดเจ็บทั้งหมด จ านวนผู้บาดเจ็บ
               ที่อาการหนัก สถานที่และเวลาที่เกิดเหตุ เพื่อการส่งต่อแก่สถานพยาบาล และหากมีเวลาเพียงพอควรจดบันทึก

               อาการของผู้ประสบภัยและการช่วยเหลือที่ผู้ประสบภัยได้รับ  เพื่อรายงานในการส่งต่อผู้ประสบภัยและเป็น
               ประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล


               วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยแบบไม่ใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์
                 1. การเคลื่อนย้ายโดยมีผู้ช่วยเหลือ 1 คน ได้แก่


                        1.1 การพยุงเดิน (Human Crutch)

                        ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่รู้สึกตัวดี  มีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยที่ขาข้างเดียว และพอช่วยเหลือ
               ตัวเองได้บ้าง เช่น ข้อเท้าเคล็ด ข้อเท้าแพลง ฝ่าเท้าหรือข้อเข่าเจ็บ ตาปิด  เป็นต้น
                                      วิธีการปฏิบัติ

                                      1. ผู้ช่วยเหลือเข้าประคองผู้ประสบภัย โดยหันหน้าไปด้านเดียวกันกับ
                                      ผู้ประสบภัยและยืนชิดกับขาข้างที่บาดเจ็บ (ให้ขาข้างที่เจ็บอยู่ด้านในเสมอ)
                                      2. กุมข้อมือของผู้ประสบภัยที่อยู่ชิดตัวผู้ช่วยเหลือมาพาดรอบคอไว้  จับชายเสื้อ
                                      ขอบกระโปรงหรือเข็มขัดของผู้ประสบภัยไว้ โดยให้รักแร้ของผู้ประสบภัยอยู่

                                      เหนือไหล่ของผู้ช่วยเหลือ
                                      3. ผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณในการก้าวเดิน “เตรียมเดิน  เดิน”
                                      4. พยุงก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน (เหมือนเดินสามขา) ในทิศทางเดียวกันและพร้อม

                                      กัน (ถ้าผู้ประสบภัยไม่สามารถลากเท้าของตนเองไปได้ ผู้ช่วยเหลืออาจใช้เท้าที่อยู่
                                       ด้านในช่วยเขี่ยพยุงให้เท้าของผู้ประสบภัยยังก้าวไปได้ )

                    1.2 การแบกด้วยสะโพก (Hip Carry)
                            ใช้ส าหรับผู้ประสบภัยที่ขนาดตัวใหญ่กว่าผู้ช่วยเหลือ  ไม่รู้สึกตัวหรือรู้สึกตัวแต่ลุกเดินไม่ได้
                   นอนบนเตียงพยาบาลหรือเตียงที่สูงพอควร (ระดับสะโพก) และต้องเคลื่อนย้ายในระยะทางไม่ไกลมากนัก


                                           วิธีการปฏิบัติ
                                           1. จัดท่าให้ผู้ประสบภัยนอนตะแคงชิดขอบเตียง หันหน้าออกนอกเตียง

                                           2 .ผู้ช่วยเหลือยืนหันหลังให้ผู้ประสบภัย ในต าแหน่งกลางล าตัวของ
                                           ผู้ประสบภัย
                                           3. ใช้มือข้างหนึ่งช้อนใต้เข่า และอีกข้างหนึ่งช้อนไหล่โดยสอดผ่านรักแร้ของ
                                           ผู้ประสบภัยไปจับไหล่ให้กระชับ

                                           4. ยกผู้ประสบภัยโดยใช้สะโพกรับน้ าหนัก และจัดท่าให้กระชับ แล้วก้าว
                                           เดินไปยังที่หมาย









               52
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57