Page 49 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 49

หลักการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
                     เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยออกจากที่เกิดเหตุ ด้วยความรวดเร็วที่สุด พยายามไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับ
               อันตราย หรือได้รับความกระทบกระเทือนจากการเคลื่อนย้ายน้อยที่สุดเท่าที่จะท าได้  ค านึงถึงความปลอดภัย

               มากที่สุดแก่ผู้ช่วยเหลือและผู้ประสบภัย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้ได้จ านวนมากที่สุดโดยใช้เวลาที่สั้นที่สุด
               ในการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยผู้ช่วยเหลือจะต้องตระหนักถึงหลักการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย  ดังนี้
                     1. เคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยในที่เกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น
                     2. ปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว มีสติ และไหวพริบดี

                     3. หาสาเหตุว่าภัยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นภัยชนิดใด (ในกรณีที่เหตุการณ์ได้สงบลงแล้ว) เพื่อที่จะน ามาวินิจฉัย
               ว่า บุคคลผู้ได้รับภัยนั้นบาดเจ็บด้วยเหตุใด
                     4. เมื่อเข้าถึงตัวผู้ประสบภัยต้องวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยโดยฉับไว เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาว่าจะ
               ใช้วิธีใดเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย จึงจะเหมาะสมและได้ผลดี

                     5. ควรพิจารณาว่าผู้ประสบภัยมีขนาดรูปร่างเล็กใหญ่ เพียงใด เพื่อที่จะท าการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย
               โดยน าวิธีต่างๆ มาเลือกใช้ให้เหมาะสมและได้ผลดี
                     6. ทิศทาง เส้นทางในการเคลื่อนย้ายนั้น จะต้องพิจารณาถึงการเข้าออกโดยฉับไว อันเป็นทางเข้าออกที่
               จะน าไปสู่ความปลอดภัย

                     7. ค านึงถึงก าลังของเจ้าหน้าที่ที่เข้าให้การช่วยเหลือว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อจะพิจารณาได้ว่า จะเข้า
               ท าการช่วยผู้ประสบภัยคนหนึ่งต่อเจ้าหน้าที่หนึ่งคน  หรือผู้ประสบภัยคนหนึ่งต่อเจ้าหน้าที่สองคน สามคน สี่
               คน ห้าคน หรือหกคน แล้วแต่กรณี

                     8. เมื่อผู้ประสบภัยไปสู่ที่ปลอดภัยแล้ว ควรน าผู้ป่วยนอนเปลพยาบาล หรือสิ่งอื่นใดที่ท าให้ผู้ป่วยได้รับ
               ความอบอุ่นปลอดภัยมากที่สุด
                     9. ควรท าการปฐมพยาบาลเท่าที่จ าเป็นด้วยการให้ความช่วยเหลือขั้นต้นแก่ผู้ประสบภัยโดยปัจจุบันเพื่อ
               ป้องกันอันตรายอันอาจถึงแก่ชีวิต เช่น การห้ามเลือด และการช่วยหายใจ เป็นต้น
                     10. น าผู้ประสบภัยหรือผู้บาดเจ็บส่งถึงมือแพทย์ พยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในช่วงเวลาอันสั้นที่สุด



               ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

                     1. ชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บ
                     2. ความรู้สึกตัวของผู้ประสบภัย
                     3. น้ าหนักตัวของผู้ประสบภัย
                     4. จ านวนผู้ช่วยเหลือที่หาได้

                     5. ระยะทางและช่องทางการเคลื่อนย้าย












                                                                                                       49
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54