Page 44 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 44

นาน มักมีอาการกระสับกระส่าย ปวดศีรษะ มึนงง สับสน หน้าแดง ตัวร้อนจัด ไม่มีเหงื่อ ชีพจรเต้นแรงและเร็ว
               อาจหมดความรู้สึกชั่ววูบ

                          การปฐมพยาบาล
                      1) จัดให้นอนราบในที่ร่มและเย็น อากาศถ่ายเทสะดวก
                      2) คลายหรือถอดเสื้อผ้าออก

                         3) ให้จิบน้ าทีละน้อย หรือจิบน้ าเกลือแร่
                      4) เช็ดตัวด้วยน้ าเย็น หรือน้ าธรรมดา
                      5) สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
                         6) หากอาการไม่ดีขึ้นควรน าส่งโรงพยาบาล


               การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีภาวะช็อก
                       ภาวะช็อก หมายถึง สภาวะที่เลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาด

               ออกซิเจนเกิดจากหัวใจบีบตัวน้อยลงหรือหัวใจอาจหยุดเต้น ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตลดลง
               เนื่องจากเสียเลือด น้ าเหลืองหรือน้ าจากร่างกาย อาการที่พบในระยะเริ่มช็อก คือ ชีพจรเร็ว หน้าซีด ตัวเย็น มี
               เหงื่อชื้น ต่อมาขณะช็อกอาการ คือ อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็วตื้น ชีพจรเบามาก กระสับกระส่าย
               เริ่มไม่รู้สึกตัวและหัวใจหยุดเต้นได้

                  การปฐมพยาบาล
                        1) ถ้ามีเลือดออกมากให้ห้ามเลือดก่อน
                        2) ให้นอนราบ ตะแคงหน้า ให้ปลายเท้าสูงกว่าล าตัวประมาณ 1 ฟุต
                        3) คลายเสื้อผ้าให้หลวมและห่มผ้าให้ความอบอุ่น

                        4) รีบน าส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว
                        5) ควรประเมินความรู้สึกตัว การหายใจ และชีพจรตลอดเวลา หากไม่หายใจและไม่มีชีพจรให้
               ปฏิบัติการกู้ชีวิต


               การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีภาวะไฟฟ้าช็อต
                      การถูกไฟฟ้าช็อตเกิดจากร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า มีการผ่านของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านจะท าลาย

               อวัยวะภายใน เช่น เส้นประสาท หลอดเลือด กล้ามเนื้อรวมถึงกระดูกและเนื้อเยื่อของหัวใจ ปอด สมองและไข
               สันหลัง ท าให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ กระดูกสันหลังหักได้
                      ถ้าตรวจร่างกายอาจเห็นแผลจากภายนอกเพียงเล็กน้อยแค่ทางเข้าและทางออกของกระแสไฟฟ้า
               เท่านั้นแต่อวัยวะภายในอาจถูกท าลายมาก เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อถูกท าลายอย่างรุนแรง มีการ
               สลายของไมโอโกลบินซึ่งจะกระตุ้นให้หลอดเลือดที่ไตหดตัวและบางส่วนจะอุดกั้นการไหลของปัสสาวะออกจาก

               ไต ท าให้ปัสสาวะจะมีสีน้ าตาล (myoglobinuria/methemoglobinuria) หรือสีชมพูอมม่วง (burgundy
               color) ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันจากมีไมโอโกลบินและฮีโมโกลบินมาอุดตันท่อไต นอกจากนี้
               กระดูกอาจหักได้จากการกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง หรือกระดูกหักอาจเป็น

               บาดเจ็บร่วม เช่น ตกจากที่สูงภายหลังถูกไฟฟ้าช็อต





               44
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49