Page 41 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 41
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
1) ล้างผิวหนังที่ถูกสารเคมีด้วยน้ าจ านวนมาก และนานพอจนแน่ใจว่าล้างสารเคมีออกหมด
2) ขณะล้างสารเคมี ให้ถอดเสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า และเครื่องประดับออกให้หมด
3) ตรวจดูการหายใจและ ชีพจร ถ้ามีปัญหาให้รีบท าการช่วยเหลือโดยท า CPR
4) รีบน าส่งสถานพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับสารพิษทางตา
1) ล้างตาด้วยน้ าสะอาดมากๆ นานอย่างน้อยประมาณ 15 นาที โดยให้นอนตะแคงเอาตาข้างที่ถูก
สารพิษลงข้างล่าง ถ้ามี Contact lens ให้ถอดออกก่อน และตรวจด้วย pH paper จน pH เป็นกลาง
2) เปิดเปลือกตาแล้วเทน้ าจากหัวตามาด้านหางตา ระวังอย่าให้น้ าที่ใช้กระเด็นเข้าตาอีกข้างหนึ่ง
3) ห้ามขยี้ตา
4) ปิดตาด้วยผ้าสะอาด
5) รีบน าส่งสถานพยาบาล
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่ได้รับรังสี
1) เมื่อผู้ประสบภัยมาถึงต้องเปลื้องเสื้อผ้าอย่างระมัดระวัง เก็บเสื้อผ้าในถุงให้มิดชิด
2) ส ารวจร่างกายและเก็บตัวอย่างรังสี
3) ช าระล้างสารพิษแก่ผู้ประสบภัยก่อนน าเข้าห้องฉุกเฉิน โดยให้อาบน้ าฝักบัว
4) ถ้าผู้ประสบภัยมีบาดแผลด้วยให้พันผ้าปิดแผลไว้ก่อนแล้วจึงช าระล้างส่วนอื่น
5) ผู้ประสบภัยมักเกิดปัญหาด้านจิตใจ ขวัญเสียจ านวนมากและรุนแรง จึงควรให้การดูแลด้านสุขภาพ
เป็นพิเศษ และควรมีการจัดศูนย์ปลอบขวัญส าหรับผู้ประสบภัยกลุ่มนี้
ในการปฏิบัติงาน พยาบาลหรือบุคลากรต้องมีเครื่องตรวจวัดรังสี (Dosimeters) ติดตัว และต้องสวม
ชุดป้องกันให้เหมาะสมกับสารกัมมันตรังสี
การปฐมพยาบาลและการรักษาผู้ประสบภัยที่ได้รับสารไซยาไนด์ (Cyanide)
ไซยาไนด์เป็นสารที่ใช้มากในการพิมพ์ การเกษตร การถ่ายภาพ การผลิตพลาสติก เป็นต้น ปกติมัก
เก็บ ในสภาพของเหลว มีกลิ่นเหมือนถั่วแอลมอนด์ เข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ เมื่อได้รับสารนี้คนมักไม่
ทราบว่าได้รับสารพิษ ถ้าได้รับในปริมาณ น้อยจะไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต อาการที่พบคือ ปวดศีรษะ วิงเวียน
อาเจียน ผิวเปล่งแดงเหมือนลูกเชอรี่จากการสูบฉีดแรงของโลหิต Hyperventilation ถ้าได้รับในปริมาณมาก
โดยการสูดดม ภายใน 12-15 วินาที จะมีอาการหายใจเร็วและแรงขึ้น ต่อมามีอาการชัก และหยุดหายใจได้
ความดันโลหิตตก หัวใจหยุดเต้น ถ้าปล่อยไว้อาจเสียชีวิตภายใน 6-10 นาที ต้องรีบให้การปฐมพยาบาลและ
การรักษา ดังนี้
1) เปลื้องเสื้อผ้า รีบน าออกสู่ที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์
2) ถ้าหมดสติให้ออกซิเจน และให้ยาถอนฤทธิ์ Amyl nitrite (ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, 2562)
41