Page 37 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 37
1) Hot zone เป็นบริเวณที่มีการปนเปื้อนสารพิษมากที่สุด มีอันตรายมาก ห้ามเข้าไป
บริเวณดังกล่าว ผู้ที่จะเข้าไปในบริเวณนี้จ าเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันสารพิษอย่างเหมาะสม
2) Warm zone เป็นบริเวณที่อยู่ถัดออกมาจาก Hot zone ช าระล้างสารพิษได้ที่บริเวณนี้
โดยมีทางออกที่เชื่อมต่อทั้ง Hot zone และ Cold zone การช่วยชีวิตเบื้องต้นสามารถเริ่มท าได้ที่บริเวณนี้
3) Cold zone เป็นบริเวณที่ปลอดภัยจากสารพิษ ผู้ปฏิบัติการต้องถอดอุปกรณ์ป้องกัน
สารพิษออกก่อนเข้าสู่บริเวณนี้ เป็นบริเวณที่ท าการปฐมพยาบาลได้
ส าหรับรถพยาบาลให้จอดในที่ที่ปลอดภัย โดยทั่วไปมักเป็นที่สูง อยู่เหนือลม ต้นน้ า เพื่อ
ไม่ให้สัมผัสสารพิษ การจอดรถพยาบาลทุกครั้งให้หันหัวรถออกเพื่อที่จะสามารถเคลื่อนย้ายได้เร็ว ห้ามผ่านเข้า
ไปในบริเวณเขตช าระล้างสารเคมี (Warm Zone) ก่อนการปฏิบัติการด้านรักษาพยาบาลให้ทีมเวชบริการ
ฉุกเฉินมีการสวมใส่ชุดและอุปกรณ์ป้องกันภัยสารเคมีให้เหมาะสมกับชนิดสารเคมี (อย่างน้อยระดับ C) ให้
เรียบร้อยก่อนลงจากรถพยาบาล แต่ถ้าจะเข้าปฏิบัติการในเขตช าระล้างสารเคมี (Warm Zone) หรือเขต
อันตราย (Hot Zone) จะต้องเพิ่มระดับของชุดป้องกันสารเคมีให้เหมาะสม
5.3.2 ชุดป้องกันอันตรายจากสารพิษ
ชุดป้องกันอันตรายจากสารพิษ ใช้เพื่อใส่ป้องกันไม่ให้ร่างกายสัมผัสกับสารพิษ มีหลายระดับ
ส าหรับการป้องกันพิษของสารพิษระดับต่างๆกัน ชุดและอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ ในแต่ละระดับใช้ในการ
ปฏิบัติงานขั้นเริ่มต้นของสถานการณ์ที่ระบุไว้ หากมีการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่เลวร้ายขึ้นต้องเพิ่มขีด
ความสามารถในการป้องกันของชุดและอุปกรณ์เป็นระดับที่สูงขึ้น ส านักบริหารการป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ของสหรัฐอเมริกา (Environment Protection Agency : EPA) แบ่งระดับชุดป้องกันอันตรายจากสารพิษ ดังนี้
1) ชุดป้องกันระดับ A (Level A protection) ให้การป้องกันระดับสูงสุดทั้งด้านการหายใจ
การสัมผัสกับผิวหนัง ดวงตา และอวัยวะต่างๆของร่างกาย ป้องกันสารพิษทั้งในรูป ของแข็ง ของเหลวและก๊าซ
สามารถเข้าเขต Hot Zone ได้ ประกอบด้วย
- ชุดทนสารเคมีแบบคลุมทั้งตัวไร้รอยต่อ (Vapor-protection suit)
- เครื่องช่วยหายใจชนิดบรรจุอากาศในตัว ประกอบด้วยถังอากาศอัดความดันมากกว่า
ความดันบรรยากาศและหน้ากากชนิดเต็มหน้า
- ถุงมือชั้นในชนิดทนสารเคมี (Inner chemical-resistant gloves)
- รองเท้าบู๊ททนสารเคมี (Chemical-resistant safety boots)
- วิทยุสื่อสารที่รับและส่งได้ในตัว (Two-way radio communication)
ข้อบ่งใช้ชุดป้องกันระดับ A (Level A protection)
- ไม่ทราบชนิดของสารพิษ แต่มีอันตรายเมื่อสัมผัสผิวหนังในรูปของไอหรือของเหลว
- ปฏิบัติงานที่อับและไม่มีการระบายอากาศ (Confined space)
2) ชุดป้องกันระดับ B (Level B protection) ใช้ป้องกันระบบทางเดินหายใจในระดับ
สูงสุด แต่จะป้องกันผิวหนังและดวงตาในระดับรองลงมา โดยมากใช้ป้องกันของเหลวหรือวัตถุกระเด็น เป็นชุด
คลุมทั้งตัวแต่ไอระเหยและฝุ่นของสารพิษสามารถเข้าตามรอยต่อได้บริเวณคอและข้อมือ ประกอบด้วย
- ชุดทนสารเคมีแบบคลุมยาวตลอดแขนขาป้องกันการกระเด็นของของเหลว (Liquid
splash-protective suit)
37