Page 32 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 32

ในระยะเมื่อพ้น 48 ชั่วโมงหลังบาดเจ็บ ใช้หลัก Heat ดังนี้
                           H  =  Hot application คือ การประคบด้วยน้ าอุ่นครั้งละ 20-30 นาที ท าทุก 1-2 ชั่วโมงหรือ
                                ทายาให้เกิดความร้อน

                           E   = Exercise คือ การบริหารอวัยวะโดยการเกร็งกล้ามเนื้อและข้อบริเวณที่บาดเจ็บ ท าช้าๆ เบาๆ
                           A   = Advance Exercise คือ การเพิ่มการบริหารอวัยวะให้มากขึ้นเมื่อท า Exercise ได้ดีแล้ว
                           T   = Training คือการให้ฝึกเดิน หรือใช้อวัยวะที่บาดเจ็บในการท ากิจกรรมตามปกติ โดยเริ่ม
                                จากการฝึกเบาๆ ก่อน

                           3.2.7 การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยข้อเคลื่อน (Dislocation/ Subluxation)
                                   ข้อเคลื่อน หมายถึง การที่ปลายหรือหัวกระดูกซึ่งประกอบขึ้นเป็นข้อต่อนั้น เคลื่อนออกไป
               จากเดิมเป็นบางส่วน (Subluxation) หรือหลุดออกไปจากที่เคยอยู่ตามปกติ (Dislocation) สาเหตุจากการล้ม
               กระแทก หรือถูกกระชากอย่างเต็มแรง

                                   อาการ ปวด และปวดมากรอบ ๆ ข้อต่อนั้น เคลื่อนไหวไม่ได้ ข้อต่อส่วนนั้นมีรูปร่างผิดไปจาก
               เดิมหรือผิดจากข้างที่ปกติปลายกระดูกด้านนั้นนูนขึ้นมาให้เห็นชัดเจน
                        การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยข้อเคลื่อน

                      1) ห้ามดึงให้ข้อเข้าที่เอง เพราะจะท าให้เอ็น เส้นประสาท เส้นเลือด และเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อได้รับ
               อันตรายหรืออาจเกิดความพิการอย่างถาวรได้
                      2) ถ้าปวดมากควรใช้น้ าเย็น หรือน้ าแข็งประคบไว้ก่อน
                      3) ให้ข้อต่อส่วนที่เคลื่อนอยู่นิ่งที่สุด โดยการใช้ผ้าพันดามไว้ชั่วคราว
                      4) รีบน าส่งโรงพยาบาล อย่าทิ้งไว้นาน เพราะจะท าให้ดึงข้อต่อเข้าที่ได้ยาก



                                     บาดเจ็บที่แขน ขา ข้อ





               32
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37