Page 30 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 30

1) ใช้ไม้แผ่นยาวๆ หรือกระดาษพับให้แข็งยาวเท่ากับความยาวของปลายแขนตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายนิ้ว
               วัสดุที่น ามาดามนั้นควรหุ้มด้วยผ้านุ่มๆ เพื่อไม่ให้ท าลายผิวหนังบริเวณที่จะน าไปสัมผัส

                      2) วางวัสดุที่น ามาดามแขนที่หักตั้งแต่ข้อศอกถึงปลายนิ้ว จากนั้นพันด้วยผ้าคราวาทบริเวณเหนือ
               กระดูกที่หักและคร่อมบริเวณข้อมือ ให้ปมผ้าอยู่ตรงกันข้ามกับแขนที่หัก
                         3) ใช้ผ้าสามเหลี่ยมคล้องแขวน (Sling) แขนข้างที่หักกับคอของผู้บาดเจ็บ

                         4) ใช้ผ้าสามเหลี่ยมอีก 1 ผืนพับเป็นเส้น มัดยึดแขนข้างที่หักให้ติดกับล าตัว

                         3.2.3 การปฐมพยาบาลกระดูกเชิงกรานหัก
                               ผู้ประสบภัยจะปวดมากบริเวณสะโพกหรือหลังและขาหนีบ ยกสะโพกไม่ได้  ให้ระวังอาการช็อก

               จากการตกเลือดภายใน เนื่องจากกระดูกเชิงกรานเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ท าให้เสียเลือดได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับ
               กระดูกชิ้นอื่นๆ  นอกจากนี้อาจมีเศษกระดูกหักทิ่มแทงกระเพาะปัสสาวะหรือมดลูก  ถ้าไม่จ าเป็นไม่ควร
               เคลื่อนไหวมาก ประเมินสถานการณ์และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บ โทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
               ต่อไป

                              การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) พันเมื่อมีกระดูกเชิงกรานหัก
                          1) จัดท่าให้ผู้ประสบภัยนอนหงายบนเปลแข็ง หรือบนแผ่นไม้กระดาน
                         2) ค่อย ๆ สอดผ้าผืนใหญ่รอบสะโพกและมัดให้แน่นพอสมควร
                         3) วางผ้านุ่ม ๆ ไว้ระหว่างขาซ้ายกับขาขวาตั้งแต่หัวเข่าถึงเท้าทั้ง 2 ข้าง

                         4) มัดผ้าคราวาทคร่อมข้อเท้าและเข่าทั้งสองข้างด้วยกัน ผูกปมผ้าไว้ด้านที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ
                         5) มัดผู้ประสบภัยให้ติดแน่นกับเปลหรือกระดาน เพื่อสะดวกและปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายไปรักษาต่อ


                           3.2.4  กระดูกต้นขาหัก ผู้ประสบภัยมักมีอาการปวดต้นขา ยกขาไม่ขึ้น เดินไม่ได้
                                 การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) พันเมื่อมีกระดูกต้นขาหัก
                        1) วางผ้าหรือวัสดุนุ่มๆ ระหว่างขาทั้งสองข้างตั้งแต่หว่างขาถึงข้อเท้า
                        2) น าขาข้างที่ไม่หักมาประชิดข้างที่หักด้วยความระมัดระวัง
                        3) สอดผ้าคราวาทเริ่มจากขาข้างที่ไม่บาดเจ็บ

                        4) พันผ้าคราวาท 5 ผืน โดยผืนที่ 1 พันคร่อมข้อสะโพก ผืนที่ 2 พันคร่อมหัวเข่าทั้งสองข้าง
               ผืนที่ 3 พันใกล้จุดที่กระดูกหัก (อาจอยู่เหนือหรือใต้จุดที่หัก) ผืนที่ 4 พันคร่อมข้อเท้าและปลายเท้า
               ผืนที่ 5 พันบริเวณหน้าแข้ง  ให้ปมผ้าคราวาทอยู่ด้านตรงข้ามกับที่บาดเจ็บหรืออยู่ตรงกลาง





















               30
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35