Page 26 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 26

2.2.5 ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพที่ใกล้ที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

                  2.3 การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular bandage) พันเมื่อมีกระดูกสันหลังหัก
                        2.3.1 จัดให้ผู้ประสบภัยนอนลงบนพื้นที่แข็งเรียบ พยายามให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวราบตรง

               ตลอดเวลาในขณะเคลื่อนย้ายโดยใช้ไม้กระดาน เป็นต้น
                        2.3.2 ดามกระดูกสันหลังให้คอและหลังอยู่ในแนวตรง โดยใช้ผ้าสามเหลี่ยมมัดล าตัวและขาให้ติดกับ
               แผ่นไม้กระดานให้แน่น อย่าให้เคลื่อนไหวได้แต่ต้องให้หายใจสะดวกและเลือดไหลเวียนได้ดี

             PCL ขั นตอนการปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอโดยวิธีการใส่ Cervical collar
                                                                                             ปฏิบัติได้ ปฏิบัติไม่
                                        ขั นตอนการปฐมพยาบาล
                                                                                             ถูกต้อง  ถูกต้อง
           บอกผู้ประสบภัยก่อนให้การปฐมพยาบาล

           - อาจมีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังส่วนคอ
           - จะใส่เฝือกดามคอให้เพื่อไม่ให้กระดูกคอเคลื่อน

           การใส่ปลอกดามคอ (Cervical collar) และการประเมินหลังการใส่
           -  ตรวจสอบผู้บาดเจ็บอยู่ในท่า Neutral position หรือไม่

           - วางหลังมือบริเวณล าคอของผู้บาดเจ็บ นิ้วชี้อยู่ในแนวเดียวกับระดับคางของผู้บาดเจ็บ
             ประเมินดูว่าต าแหน่งส่วนล่างของแนวล าคออยู่ที่ระดับนิ้วใดของผู้ให้การช่วยเหลือ
           - วัดขนาดของปลอกดามคอเป็นระยะระหว่างนิ้ว (Fingerbreadth) โดยใช้นิ้วที่วัดระยะจากคอ

           ผู้บาดเจ็บมาวัดขนาดปลอกดามคอ ปรับขนาดของปลอกดามคอโดยวางนิ้วบนขีดสีด าที่อยู่บน
           ปลอกดามคอ จนถึงขอบพลาสติกด้านล่าง (โดยไม่นับรวมระยะของแผ่นโฟม)
           - พับสายส าหรับยึดติดของปลอกดามคอเข้าด้านใน

           - สอดปลอกดามคอในแนวด้านหลังคออย่างระมัดระวัง ไม่ให้มีการขยับของศีรษะและคอ
           ปฏิบัติด้วยความนุ่มนวล
           - ใช้มือซ้ายดึงสายส าหรับยึดติดของปลอกดามคอนั้นออก

           - สอดนิ้วหัวแม่มือเข้าในช่องว่างด้านหน้าของปลอกดามคอ
           - กวาดปลอกดามคอจากหน้าอกเข้าที่บริเวณคาง โดยให้ปุ่มใต้คางของปลอกดามคออยู่บริเวณกึ่งกลางคาง

           - ตรวจสอบดูว่าปลอกดามคออยู่ในต าแหน่งที่ถูกต้อง : ปลอกดามคออยู่ในแนวกลางของล าตัว (สังเกต
           จากปุ่มยึดโฟมด้านนอกที่ใต้คางและกลางอก อยู่ตรงกับปลายจมูก และอยู่ในแนวกลางของล าตัว)
           - ใช้มือซ้ายดึงสายส าหรับยึดติดปลอกดามคอในแนวตรง แล้วยึดติดปลอกดามคอ

           - สอบถามผู้บาดเจ็บว่ารู้สึกว่าปลอกดามคอรัดแน่นเกินไปหรือไม่




                            บาดเจ็บศรีษะ กระดูกสันหลังและไขสันหลัง







               26
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31