Page 24 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 24

2. การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง

               (First aid for spine and spinal injury)

                      การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังหักเคลื่อน ส่วนใหญ่เกิดเนื่องจากแรงกระท าที่ค่อนข้าง

               รุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ ตกจากที่สูง มักเกิดบริเวณส่วนต่อระหว่างกระดูกคอและกระดูกสันหลังส่วน
               อก และส่วนต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและส่วนเอว และเป็นบริเวณที่อาจจะถูกมองข้ามไปเสมอ

               โดยเฉพาะในรายที่ไม่มีแขนขาอ่อนแรงให้เห็นอย่างชัดเจน  บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอนี้ถ้ามีกระดูกหักหรือ
               ข้อเคลื่อนจะมีโอกาสกดทับประสาทไขสันหลังได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ถ้ากดที่ระดับ C1-4 หรือ
               เป็นอัมพาตของแขนขา

                      2.1 การประเมินสภาพผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
                         การซักประวัติจากผู้ป่วยหรือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ ตลอดจนการประเมิน ABCDE ประเมินการรับ

               ความรู้สึก และตรวจร่างกายโดยทั่วไป เพื่อดูว่ามีภยันตรายต่ออวัยวะที่ส าคัญส่วนอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ พึง
               ระลึกเสมอถึงภยันตรายที่มีต่อกระดูกสันหลังและไขสันหลังส่วนคอในคนไข้อุบัติเหตุทุกราย หลักส าคัญ คือ ไม่

               ควรจะมีการเคลื่อนไหวคอบริเวณที่บาดเจ็บจนกว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าไม่มีอันตรายต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ
                        ขณะเคลื่อนย้ายคนไข้จากจุดที่ได้รับอุบัติเหตุมาโรงพยาบาลนั้นเป็นสิ่งส าคัญมาก โดยเฉพาะในราย

               unstable fracture มักจะมีการสูญเสียของระบบประสาทเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ในรายที่สงสัยว่ามีการบาดเจ็บที่
               กระดูกสันหลัง คนไข้ควรจะได้รับการยึดหรือตรึงให้อยู่ในแนวตรงบนพื้นราบแข็ง เช่น ใช้กระดาน หรือ spinal
               board และมีผ้าม้วนรองใต้คอเพื่อป้องกันไม่ให้คอก้มลงแล้วจึงน าส่งโรงพยาบาลเร็วที่สุด



                              การสูญเสียหน้าที่ของการบาดเจ็บไขสันหลังในระดับต่างๆ
               (ไสว นรสารและพีรญา ไสไหม (บรรณาธิการ), 2559)

                    ระดับ                         การสูญเสียหน้าที่ของการบาดเจ็บไขสันหลัง
                    C1-4      อัมพาตทั้งแขนและขา และสูญเสียการรับความรู้สึกตั้งแต่ระดับคอลงมา หายใจเองไม่ได้ ต้อง
                              เจาะคอและใส่เครื่องช่วยหายใจ ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้
                     C5       - อัมพาตทั้งแขนขาตั้งแต่ไหล่บนลงมา

                              - กล้ามเนื้อกระบังลมอ่อนแรง
                              - สามารถควบคุมกล้ามเนื้อในการเอี้ยวคอและกล้ามเนื้อบ่าได้ (trapezius muscle)
                              - เสี่ยงต่อการเกิดปอดบวมและปอดแฟบ
                              - ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้

                     C6       - อัมพาตทั้งแขนขาต่ ากว่าไหล่ลงมาถึงต้นแขน เคลื่อนไหวข้อศอก แขนส่วนปลายและมือไม่ได้
                              - กล้ามเนื้อซี่โครงและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง สามารถหายใจได้เองแต่ปอดขยายไม่เต็มที่
                              และไอไม่มีประสิทธิภาพ
                              - ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้

                     C7       - เคลื่อนไหวแขนและมือเองไม่ได้
                              - ท้องผูก ปัสสาวะไม่ได้




               24
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29