Page 22 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 22
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย
อาจารย์ ดร.ณัฐชยา พลาชีวะ
วัตถุประสงค์
เมื่อนักศึกษาเรียนเรื่องนี้จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. ประเมินและให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ กระดูกสันหลังและไขสันหลังได้
2. ประเมินและให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่แขนขาและข้อได้
3. ประเมินและให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่มีการบาดเจ็บจากแผลไหม้ได้
4. ประเมินและให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่มีการบาดเจ็บจากสารพิษได้
5. ประเมินและให้การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่มีภาวะเป็นลม ช็อก ไฟฟ้าช็อตและ
จมน้ าได้
การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care) มักถูกจ ากัดด้วยเวลา
อุปกรณ์ และสถานที่ ผู้ให้การช่วยเหลือจึงต้องมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย
เพื่อประเมิน วินิจฉัย และให้การช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
1. การปฐมพยาบาลผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ
(First aid for head injury)
1.1 การประเมินผู้ประสบภัยที่มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ
การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury) หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระท าภายนอกทั้งทางตรง
และทางอ้อมที่มีต่อหนังศีรษะ กะโหลกและเนื้อเยื่อที่เป็นส่วนประกอบภายในกะโหลก (สมอง หลอดเลือด
สมอง และโพรงสมอง) ซึ่งอาจมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว หรือผู้บาดเจ็บมีภาวะอย่างใด
อย่างหนึ่งดังนี้ คือ มีประวัติแน่นอนว่าศีรษะได้รับแรงกระทบกระเทือน ตรวจร่างกายพบแผลที่หนังศีรษะหรือ
หน้าผาก ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงแม้ว่าจะเป็นชั่วคราว ทั้งนี้ไม่รวมการบาดเจ็บของใบหน้า เช่น แผลฉีก
ขาดที่หน้า กระดูกหน้าแตก วัตถุแปลกปลอมเข้าไปในตา หู จมูก หรือมีเลือดก าเดาไหล แต่การบาดเจ็บเหล่านี้
อาจเกิดร่วมกับการบาดเจ็บที่ศีรษะได้
การประเมินผู้บาดเจ็บเบื้องต้น (primary survey) เป็นการประเมินผู้บาดเจ็บว่ามีภาวะที่คุกคามต่อ
ชีวิต (life-threatening condition) หรือไม่ และช่วยกู้ชีพเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ประเมินระดับความรุนแรง
ของการบาดเจ็บที่ศีรษะ (Severity of head injury) โดยใช้คะแนนกลาสโกว์ (Glasgow Coma Scale หรือ
GCS) ตรวจประเมินว่ามีภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือไม่พร้อมทั้งตรวจบาดแผล ซึ่งการประเมิน
ดังกล่าวข้างต้นต้องท าเป็นระยะๆ เพราะอาการสามารถเปลี่ยนแปลงในทางเลวลงภายในเวลาไม่กี่นาทีได้ ถ้า
หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นให้ช่วยฟื้นคืนชีพทันที
22