Page 17 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 17
ส าคัญ (Chief complaint) ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present illness) ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past
History) ประวัติครอบครัว (Family History) และประวัติส่วนตัว (Personal History) นอกจากนี้ยังต้องซัก
ประวัติผู้ป่วยเฉพาะด้าน ดังตัวอย่างการซักประวัติผู้ป่วยในภาวะต่างๆ มีดังนี้
- ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ (Trauma) ควรซักถามเกี่ยวกับท่าของผู้ป่วยในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ
สถานที่ซึ่งได้รับบาดเจ็บ ประวัติการได้รับอุบัติเหตุครั้งก่อน ๆ ปัญหาเรื่องเลือดหยุดยาก ประวัติภูมิแพ้ แพ้ยา
โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะเพื่อประโยชน์ในการใช้ยาก่อนหรือขณะท าการผ่าตัด รับประทานอาหารหรือดื่มอะไรครั้ง
สุดท้ายเมื่อไรและปริมาณเท่าไร
- อุบัติเหตุจากการขับขี่ยานยนต์ ควรซักประวัติเกี่ยวกับ ใครเป็นผู้ให้ประวัติ ใครเป็นผู้
น าส่ง การตอบสนองของผู้ป่วยพร้อมทั้งบันทึกสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกเกี่ยวกับการรับรู้ อุบัติเหตุเกิดที่ไหน
ความเร็วในการขับขี่ยานยนต์ วัน เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเป็นคนขับขี่หรือเป็นคนซ้อนท้าย ชนิดและต าแหน่ง
ของบาดแผล ผู้ป่วยกระเด็นออกจากรถระยะไกลเพียงใด
- อุบัติเหตุผู้ป่วยจมน้ า ควรซักประวัติเกี่ยวกับจมในน้ าเค็ม หรือน้ าจืด เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ
ระยะเวลาที่จมน้ า การช่วยฟื้นชีวิต : ช่วยให้หายใจ หรือท าให้อาเจียน ข้อมูลในการเกิดอุบัติเหตุรวมถึงบาดเจ็บ
- ข้อเคล็ด ข้อแพลง (Strain /Sprain) สงสัยจะมีกระดูกหัก ควรซักถามเกี่ยวกับต าแหน่ง
ที่บาดเจ็บและเจ็บปวดเช่น กระดูกซี่โครง เจ็บมากเวลาไอ หรือหายใจลึก ๆ เท้าหรือขาปวดมากเวลา
เคลื่อนไหวหรือลงน้ าหนัก แขนหรือนิ้วปวดเมื่อยืดหรืองอ บาดเจ็บเกิดที่บริเวณใด เช่น ที่ท างาน บ้าน
โรงพยาบาล เวลาที่ได้รับบาดเจ็บ และการปฐมพยาบาล
- แผลไหม้ (Burns) ควรซักประวัติเกี่ยวกับเกิดแผลไหม้อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน เช่น ที่
ท างาน โรงเรียน บ้าน บริเวณแผลไหม้ และประมาณเปอร์เซ็นต์แผลไหม้ ชนิดของแผลไหม้ เช่น น้ าร้อน
สารเคมี การได้รับวัคซีนกระตุ้น ป้องกันบาดทะยักครั้งสุดท้าย และประวัติการแพ้วัคซีน
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย (Nausea Vomiting or Diarrhea) ควรซักประวัติเกี่ยวกับ
อาการเป็นมานานเท่าใด(เป็นวันและชั่วโมง) จ านวนครั้งใน 24 ชั่วโมง การรักษาที่ได้รับ อาเจียนมีเลือดปน
อุจจาระมีเลือดปนหรือไม่ ลักษณะเป็นเลือดสดหรือเลือดเก่า การเปลี่ยนแปลงในการรับประทานอาหาร 2-3
วันที่ผ่านมา
5.4.2 การจ าแนกเป็นผู้ป่วยในภาวะรีบด่วน ต้องให้การช่วยเหลือโดยเร็ว ให้ประเมินผู้ป่วยต่อไป
โดยซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการส าคัญที่น าผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน ประวัติการ
เจ็บป่วยในอดีต ประวัติการแพ้และยาที่ได้รับในปัจจุบัน พร้อมทั้งตรวจร่างกายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการ
ส าคัญ น าข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อรวบรวมปัญหาและวางแผนการให้การรักษาพยาบาล
ต่อไป โดยให้การปฐมพยาบาล สั่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือทางรังสี และส่งให้แพทย์เพื่อให้การรักษา
ตามความเหมาะสมและความจ าเป็นแล้วแต่กรณี
5.4.3 ผู้ป่วยในภาวะไม่รีบด่วน เมื่อประเมินสภาพทั่วไปของผู้ป่วยแล้วพบว่า เป็นภาวะที่ไม่รีบด่วน
ให้ส่งผู้ป่วยไปรับบริการหน่วยตรวจโรคทั่วไปหรือคลินิกเฉพาะโรคอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
5.4.4 การบันทึกข้อมูลในการประเมิน เพื่อจ าแนกประเภทผู้ป่วยจะต้องมีการบันทึกข้อมูลเพื่อเก็บ
เป็นหลักฐานและเป็นการสื่อสารให้ผู้ร่วมงานได้ทราบว่าผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างไร บันทึกข้อมูลทั้งหมด
โดยใช้ข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดได้ใจความและเป็นขบวนการ แนะน าให้ใช้แบบการบันทึกข้อมูลของ Weed
(Weed’s System of Problem oriented Medical Notation)
17