Page 15 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 15
5.3 เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและการจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉิน ตามหลักเกณฑ์
คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินก าหนด (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2556
ปัจจุบันสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้มีประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน
เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินพ.ศ. 2554 เพื่อ
การคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้สถานพยาบาล หน่วยปฏิบัติการ และผู้ปฏิบัติการด าเนินการ
ตรวจคัดแยกระดับความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามล าดับความเร่งด่วนทาง
การแพทย์ฉุกเฉิน แบ่งเป็น 5 ระดับตามความเร่งด่วนในการปฏิบัติการ โดยก าหนดให้ใช้เกณฑ์การประเมินเพื่อ
คัดแยกระดับความฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉินตามแนวทางการคัดแยกของ Emergency Severity Index (ESI)
Version 4 แบบ 5 ระดับ
วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินที่
เป็นมาตรฐานกลางส าหรับให้สถานพยาบาล หน่วยปฏิบัติการ และผู้ปฏิบัติการ น าไปใช้ประเมินคัดแยกระดับ
ความฉุกเฉินและจัดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินตามล าดับความเร่งด่วนทางการแพทย์ฉุกเฉิน
ก าหนดการจัดท าเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดล าดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินจาก
รายการ 25 กลุ่มอาการน า (Criteria Based Dispatch : CBD) โดยใช้เกณฑ์และวิธีการคัดแยกตาม
Emergency Severity Index (ESI) Version 4 แบบ 5 ระดับ มาช่วยในจัดกลุ่มระดับความฉุกเฉิน ดังนี้
5.3.1 ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันซึ่งมีภาวะคุกคาม
ต่อชีวิตซึ่งหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบ
ประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือท าให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรง
ขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” ส าหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
5.3.2 ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ได้แก่ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันมาก
หรือเจ็บปวดรุนแรงอันอาจจ าเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะท าให้การบาดเจ็บหรือ
อาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะ
ต่อมาได้ ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีเหลือง” ส าหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน
5.3.3 ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง ได้แก่ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยซึ่งมีภาวะเฉียบพลันไม่
รุนแรงอาจรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้
แต่จ าเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะท าให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของ
ผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ให้ใช้สัญญลักษณ์ “สีเขียว” ส าหรับผู้ป่วยฉุกเฉินไม่
รุนแรง
5.3.4 ผู้ป่วยทั่วไป ได้แก่ บุคคลที่เจ็บป่วยแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งอาจรอรับหรือเลือกสรรบริการ
สาธารณสุขในเวลาท าการปกติได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา ให้ใช้
สัญลักษณ์ “สีขาว”ส าหรับผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป
5.3.5 ผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น ได้แก่ บุคคลซึ่งมารับบริการสาธารณสุขหรือบริการอื่น โดยไม่
จ าเป็นต้องใช้ทรัพยากร ให้ใช้สัญลักษณ์ “สีด า” ส าหรับผู้รับบริการสาธารณสุขอื่น
15