Page 19 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 19
6.3 เครื่องมือ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ (Equipment and supplies)สิ่งที่จ าเป็นที่จะต้องมีส ารอง ไว้เป็น
อันดับแรกคืออุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ Airway , Breathing และ Circulation โดยจะต้องรู้ปริมาณ
และประเภทของอุปกรณ์เครื่องมือและอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องจัดไว้ ตัวอย่างเช่น Suction , Dressing set ,
Cervical collar , Splint material , Tongue blades , Non sterile gloves , Gauze เป็นต้น ทั้งนี้อุปกรณ์
และเครื่องมือเหล่านี้จะต้องมีความพร้อมที่จะน าไปใช้ได้ตลอดเวลา
6.4 ระบบการบันทึกข้อมูล (Documentation system) การบันทึกข้อมูลจะมีความหลากหลายแล้วแต่
สถานที่ โดยทั่วไปอย่างน้อยจะต้องมีข้อมูล อาการของผู้ประสบภัย การวินิจฉัย การให้ป้ายสัญลักษณ์สี
ข้อมูลที่จ าเป็นที่ควรบรรจุลงในป้ายสัญลักษณ์ (Tag) แต่ละสี ในการจ าแนกผู้ประสบภัย ณ บริเวณที่เกิดสา
ธารณภัยที่ผู้จ าแนกหรือผู้ที่น าส่งผู้ประสบภัยควรได้ซักถามจากผู้ประสบภัยหรือญาติหรือผู้ประสบเหตุใน
เบื้องต้นหากสามารถกระท าได้ก่อนที่จะน าส่งสถานพยาบาลซึ่งจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลโดยละเอียดเพื่อท า
ทะเบียนประวัติส าหรับการรักษาและการรายงานตามรูปแบบที่สถานพยาบาลแต่ละแห่งก าหนดอีกครั้งหนึ่ง
ข้อมูลเบื้องต้นที่จ าเป็นเกี่ยวกับผู้ประสบภัยในสถานที่เกิดเหตุ ควรประกอบด้วยข้อมูลด้านชื่อ – สกุล อายุ เพศ
ที่อยู่ การบาดเจ็บ สัญญาณชีพ และ การช่วยเหลือที่ให้ ดังตัวอย่าง
ชื่อ-สกุล.............................................. การบาดเจ็บ......................................
อายุ...................................................... V.S.......................................................
เพศ..................................................... N.S.......................................................
ที่อยู่..................................................... การช่วยเหลือ..........................................
ลงชื่อ.......................
6.5 ระบบการติดต่อสื่อสาร (Communication system) การจ าแนกที่ดีประกอบด้วยการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจ าเป็นที่จะใช้เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ภายในบริเวณที่เดียวกัน เช่นบริเวณที่จ าแนก
ผู้ประสบภัย หรือภายในห้องฉุกเฉิน หรือภายนอกเช่นการส่งต่อไปตามโรงพยาบาลอื่นๆ ก็ได้
19