Page 23 - วิชาการพยาบาลสาธารณภัยเล่มที่ 2 : สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
P. 23
การประเมินผู้ประสบภัย
1.2 การปฐมพยาบาลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล
การดูแลระบบทางเดินหายใจ (Airway and respiratory support) ผู้ป่วยที่มี GCS น้อยกว่า 8 คะแนน
ทุกรายต้องรีบน าส่งโรงพยาบาลโดยเร็วเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจ และช่วยหายใจ (intubated and assisted
ventilation) เพื่อท าทางเดินหายใจให้โล่งและให้ได้รับออกซิเจนเพียงพอ
การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต แก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ า ภาวะบาดเจ็บร่วมอื่น ๆ ที่อาจมีอันตรายถึง
แก่ชีวิต เช่น tension pneumothorax, hypovolemic shock ต้องพยายามวินิจฉัยให้ได้ และให้การรักษา
อย่างทันท่วงที ไม่ควรให้ยาแก้ปวดในระยะนี้ เพราะอาจท าให้ประเมินอาการทางระบบประสาทผิดได้
ในผู้ประสบภัยที่ไม่รู้สึกตัวทุกราย ต้องท า manual in line stabilization ไว้จนกว่าจะตรวจสอบดู
แล้วว่าไม่มีภาวะบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอเพราะอาจเกิดอันตรายถึงแก่อัมพาตหรือเสียชีวิตได้ถ้าไม่
ระมัดระวัง
การช่วยเหลือระยะนี้ใช้หลักการดูแลผู้บาดเจ็บขั้นสูง ซึ่งผู้ช่วยเหลือต้องประเมินอย่างรวดเร็วใน
ระหว่างน าส่งโรงพยาบาล อาจมีปัญหาต่างๆ เช่น อาการชัก หมดสติ ความดันในกะโหลกศีรษะสูง หรือช็อก
จากการเสียเลือดมาก ดังนั้นไม่ควรเสียเวลาในที่เกิดเหตุนานเกินไป ให้รีบส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพให้
เร็วที่สุด หากจ าเป็นต้องให้สารน้ าระหว่างน าส่งควรให้เป็นน้ าเกลือนอร์มอล (0.9% NSS)
1.3 การใช้ผ้าสามเหลี่ยม (Triangular Bandage) พันเมื่อมีบาดแผลที่ศีรษะ
1) พับทบผ้าสามเหลี่ยมด้านฐาน 2-3 ทบ แล้วแต่ขนาดผ้าหรือศีรษะผู้บาดเจ็บ กว้าง 1-2 นิ้ว
2) วางผ้าส่วนที่พับทบไว้บนหน้าผากเหนือคิ้วเล็กน้อย ให้ส่วนที่เป็นสันทบอยู่ด้านนอกและให้ส่วนยอด
ของผ้าสามเหลี่ยมอยู่ด้านหลัง
3) จับชายผ้า 2 ข้างไขว้กันที่ท้ายทอย แล้วโยงผ้ามาผูกกันไว้ด้วยเงื่อนพิรอดที่บริเวณกลางหน้าผาก
เก็บชายผ้าด้านท้ายทอยให้เรียบร้อย
23